31st Century Museum of Contemporary Spirit (Laboratory) @ Chicago

THAI | ENG

โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ: การเรียนการสอนในชั้นเรียน, การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการจัดนิทรรศการ
ที่ห้องแสดงผลงานศิลปะ ซัลลิแวน ภาคงานแสดงนิทรรศการ ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก

การเรียนการสอน: 1 – 19 สิงหาคม 2554
การจัดนิทรรศการ: 9 กันยายน – ธันวาคม 2554

31st Century Museum of Contemporary Spirit (Laboratory) @ Chicago

ผมได้รับเชิญให้มาเป็นศิลปินในพำนักที่ The School of the art Institute of Chicago เพื่อให้มาสอนนักศึกษาปริญญาโท ทำ Workshop ในหัวข้อ advance curate โดยมีนักศึกษาเข้ารวมหกคน และมี Prof. Bob Peter ร่วมสอนด้วย เมื่อสิ้นสุดโครงการก็จะมีการจัดทำ exhibition โดยความตั้งใจของผมที่จะเชิญพวกเขาเข้ารวม curate ผลงานในการแสดงร่วมกัน รวมทั้งระหว่างเปิดและปิดงานแสดงแล้วก็ยังเปิดโอกาศให้ผู้ชมท่านอื่นสามารถที่จะcurateผลงานเข้าร่วมมาแสดงด้วยถ้าเขามีความเข้าใจตรงกันกับแนวความคิดของ 31st Century museum โดยจะมีนักศึกษากลุ่มนี้เป็นผู้ดูแลแนะนำ จากตัวอย่าง contemporary spirit object ต่างๆที่นำออกมาแสดงในงาน รวมทั้งจากประสบการณ์ของเขาที่ได้รับจากการทำ workshop เนื้อหาของการแสดงงานครั้งนี้มีพื้นฐานมาจากกระบวนการศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันจาก workshop

สำหรับผมแล้ว ดูเหมือนว่าโครงการนี้จะมีจุดมุ่งหมายในการหาคำถามมากกว่าค้นหาคำตอบ เราไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ถ้าเราตั้งคำถามไม่ถูก(คำพูดของสมโภชน์จากความคิดของมิตร) จากคำถามของผู้อื่นทำให้ผมพยายามจะถ่ายทอดความคิดและประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมทางภาษาและคำพูด ทำให้ผมต้องคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจตนเองอย่างเป็นระบบมากขึ้นเพื่อการสื่อสารกับผู้ร่วมโครงการ และบ่อยครั้งมันก็เกิดจากการที่เราพยายามทำความเข้าใจในความคิดเห็นและประสบการณ์ที่แตกต่างกันโดยเฉพาะในการตีความหมายของคำว่า Contemporary spirit

หลักเกทณ์ง่ายๆของการ curate ก็คือการเลือกผลงานที่เกิดจากความรู้สึกประทับใจในประสบการณ์ต่างๆของตนเองที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการดำรงชีวิตของเขา มันอาจเป็นประสบการณ์ท่ีเกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยทางอ้อมก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความจริงใจในการเลือกว่าสิ่งของหรือเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่มีความประทับใจและมีคุณค่าด้านจิตใจต่อตนเอง มันอาจดูเหมือนว่ามันไม่มีคุณค่าอะไรมากมายในสายตาของผู้อื่นก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันสำคัญสำหรับคุณ เพราะนั้นคือเหตุผลหลักของ 31st Century Museum (our body our museum – Spirit is art) ในการให้ความสำคัญกับการเคารพในคุณค่าและความคิดเห็นของประสบการณ์ที่แตกต่างที่มีอยู่ในแต่ละทุกคน ซึ่งเป็นคุณค่าทางด้านจิตวิญญาณ เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าอะไรดีกว่าอะไรเลวกว่าหรือเท่ากัน เพราะเป็นคุณค่าที่มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่มีอยู่แล้วในเราทุกคนคล้ายดังลายนิ้วมือของเรา เราทั้งหลายมีความเหมือนกันและในความเหมือนนั้นก็มีความแตกต่างกัน เช่นกันเรามีความแตกต่างกันแต่ในความแตกต่างเราก็มีความเหมือนกัน เราทุกคนเป็นส่วนประกอบของกันและกันโดยธรรมชาติ

ผมมีความเชื่อในคุณค่าของสิ่งต่างๆรวมทั้งความจริงความดีและความงาม ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลไม่มีความหมายที่ตายตัวตลอดเวลา ดังนั้นประเด็นที่สำคัญก็คือการที่เราต้องเปิดใจในการเรียนรู้ที่จะเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างจากประสพการณ์ที่แตกต่างของแต่ละคน บางเรื่องอาจจะดูเหมือนไม่มีความหมายสำหรับเราแต่มันอาจมีคุณค่ามากกับคนอื่นก็เป็นได้ ในทางกลับกัน บางสิ่งอาจจะสำคัญมากสำหรับเราแต่ไม่มีความหมายอะไรเลยกับผู้อื่น ผมคิดว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกของเราเกิดจากจุดเล็กๆภายในจิตใจของเรานี้เองก็คือ การที่เราไม่ให้ความเคารพในคุณค่าที่มีอยู่ในคนอื่นมากพอว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับคุณค่าที่มีอยู่ในตนเอง รวมไปถึงการไม่เคารพในคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเองว่ามีคุณค่าหรือคิดว่าด้อยกว่าผู้อื่น เรามองโลกอย่างที่เราอยากให้มันเป็นจากมุมมองของเราที่เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แต่เราไม่พยายามมองมันอย่างที่มันเป็นอยู่โดยธรรมชาติ พร้อมที่จะเปิดใจในการเรียนรู้ที่จะรับฟังและเคารพในความเชื่อความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อที่จะทำความเข้าใจในตนเองและธรรมชาติอย่างแท้จริง และก้าวข้ามข้อจำกัดกฎเกฑณ์ต่างๆทั้งความรู้ความเชื่อที่เกิดจากความเคยชินที่เรายึดมั่นออกไปเสีย นั้นก็คือจุดมุ่งหมายของ  31st Century Museum (Laboratory) @ Chicago.

คามิน
6 สิงหาคม 2554

LINK to IN CHICAGO PROJECT

PANORAMA INSTALLATION VIEW.. Click


Free Education, Education-Free

Sunday 31 July ผมเดินเล่นที่ millennium Pack ได้พบเห็นเต้นท์หลังใหญ่มีป้ายเขียนเชิญชวนให้เข้าไปว่า Family Fun Activity Zone เมื่อเข้าไปดูก็พบว่ามีกิจกรรมมากมายให้ครอบครัวได้ทำร่วมกันเช่น วาดรูป ตัวต่อไม้ให้เป็นรูปต่างๆ เครื่องของเล่น ห้องสมุดมุมอ่านหนังสือ ดนตรี กิจกรรมต่างนี้ถูกจัดขึ้นโดยกลุ่ม A.R.T ( Art Resources in Teaching ) ผมได้มีโอกาศสัมภาษณ์คนดูแล 2 คนว่าโครงการนี้มีที่มาอย่างไรและจุดประสงค์เพื่ออะไร เขาตอบว่ามันเป็นโครงการที่เกิดขึ้นนานมาแล้วตั้งแต่ป๊ ค.ศ 1894 โดยมีจุดหมายในด้านการให้ความรู้ทางการศึกษาศิลปะฟรีแก่ผู้ที่ขาดโอกาศ ปัจจุบันได้มีโครงการจัดหาศิลปินไปช่วยสอนตามโรงเรียนประถมที่ขาดแคนครูผู้สอนศิลปะหรือขาดงบประมาณด้านนี้ โดยทางโรงเรียนไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายใดๆ โดยทาง A.R.T จะเป็นคนหาทุนมาจ่ายให้กับผู้สอนเอง เมื่อได้ฟังเรื่องจบลงมันทำให้ผมมีความรู้สึกดีมากกับจุดมุ่งหมายขององค์นี้ ที่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาทางสังคมและเชื่อว่าการให้การศึกษาด้านศิลปะแก่เด็กๆ เป็นการปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์พัฒนาคุณค่าทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของสังคม และเด็กก็คือสังคมในอนาคต

จากเรื่องราวนี้ทำให้ผมระลึกถึงโรงเรียน cooper Union ตั้งอยู่ที่ New york ที่มีจุดมุ่งหมายคล้ายกัน Peter Cooper เป็นผู้ก่อตั้งโดยมีความเชื่อว่า Education should be “Free as water and air” สำหรับทุกคนไม่แบ่งแยกชนชั้นชนชาติ ความคิดดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจและเป็นที่มาให้กับผมมาสนใจในเรื่องของการศึกษานอกระบบที่มีการเปิดโอกาศให้กับคนที่สนใจเรียนรู้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่นกิจกรรม One Year Poject, Creative Sharing Wrokshop ผมคิดว่าการศึกษาที่ส่งเสริมคุณค่าด้านจิตวิญญาณรวมทั้งการปลูกฝังความรู้ความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เพราะการศึกษาในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นแต่ความสำเร็จด้านวัตถุและผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลักการสูงสุด ผมเชื่อว่าการจะถ่ายองค์ความรู้ที่ส่งเสริมคุณค่าด้านจิตวิญญาณสู่สังคมได้จริง มันต้องเริ่มต้นจากนโยบายของทางความคิดที่จะแบ่งปันช่วยเหลือมากกว่าการให้การศึกษาในเชิงธุรกิจของตัวองค์กรหรือสถาบันนั้นก่อน และเป็นนโยบายหลักของรัฐและมนุษย์ชาติทุกคน

คุณลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าคนรวยทุกคนของทุกเมืองในทุกประเทศ เห็นประโยชน์และบริจากทุนให้กับการศึกษาอย่างองค์กร A.R.T.หรือสร้างโรงเรียนแบบ Cooper Union ทุกเมือง คุณคิดว่าสังคมบนโลกใบนี้จะเปลี่ยนแปลมากขึ้้นอย่างไร

คามิน
7  กรกฎาคม 2554



Have a great night!


28 july 2011 วันนี้มาถึง Chicago เป็นวันแรก ก็รู้สึกดีกับผู้คนที่นี้ตอนรับอย่างดีเอาใจใส่ดูแล หลังจาก Trevor – Christina – Norra and Vipash พาเราไปทานอาหารเย็นเลี้ยงตอนรับ ทุกคนก็แยกย้ายกลับที่พัก ระหว่างทางเราเดินผ่านร้านอาหาร fast food เม็กซิกัน ที่หน้าร้านมีกลุ่มคนหนุ่มสาวสี่-ห้าคนนั่งกินอาหารอยู่และพร้อมกับชูป้ายที่ทำจากกระดาษห่ออาหาร ซึ่งเขียนคำว่า “Have a great night !” แล้วก็โบกมือไปมาพร้อมส่งรอยยิ้มให้กับคนที่เดินผ่านไปมารวมทั้งผมด้วย ตอนแรกผมก็งงมากนึกว่าเขาทักทายกับเพื่อนเขาหรือคนอื่นๆ ที่เดินตามหลังเรา แต่พอหันหลังกลับไปดูรอบๆ ก็ไม่มีใครสักคนเลย จึงแน่ใจว่าพวกเขาทักทายผมนั้นเอง ณ ขณะนั้นผมรู้สึกแปลกๆ งงๆ แต่ก็ขำๆ ดี ความสุขเล็กน้อยๆ อย่างนี้ทำให้วันแรกที่ Chicago มีคุณค่าและมีความหมายมากขึ้นทีเดียว

ผมกลับมาถึงที่พักก็ยังประทับใจคิดถึงเหตุการณ์นี้อยู่ ก็เลยตัดสินใจหยิบกล้องแล้วเดินกลับไปขอถ่ายรูปและสัมภาษณ์ว่าพวกเขาทำอะไรกัน หนึ่งในนั้นชื่อ Kyra Buleza ให้คำตอบว่า พวกเขาทำกันเล่นๆ นี้เป็นดรั้งแรกไม่มีเหตุผลอะไรมากเพียงแค่อยากให้คนที่เดินผ่านไปมามีความสุขเท่านั้นเอง โดยไม่หวังผลอะไรเลย ผมถามเธอว่าได้ความคิดนี้มาจากไหน เธอว่าอาจจะเป็นเพราะคุณปู่ของเธอก็เป็นได้ที่ให้แรงบันดาลใจ ปู่เธอชอบพูดคุยและส่งข้อความต่างๆ ที่เป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ คนที่รู้จักทุกคน และในช่วงสุดท้ายของชีวิตคุณปู่ท่านมีเพื่อนมาหาและเป็นกำลังใจให้เขามากมาย และเช่นกันวันนี้เขาก็ได้เพื่อนใหม่มาห้าคนจากการกระทำอย่างนี้ จากนั้นเธอก็ชี้ไปที่เพื่อนชายที่นั่งข้างสามคนและก็ชี้มาที่ผมพร้อมกับพูดว่ารวมทั้งคุณด้วย และเล่าต่อไปว่าเธอยังได้กอดเพื่อนอีกคนวัยห้าขวบด้วยเมื่อก่อนหน้าที่ผมจะมา

จากเรื่องราวความรู้ที่ผมได้รับจากบทสนทนา ทำให้วันนี้ของผมเป็นวันที่ดีอีกวันหนึ่ง ผมเริ่มเข้าใจและมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเราทุกคนมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมที่ตนอาศัยอยู่ได้ จากกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน พวกเราทุกคนมีพลังงานและความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้วภายในตนโดยธรรมชาติอย่างน่าอัศจรรย์โดยคุณไม่จำเป็นต้องมีอาชีพเป็นศิลปินเท่านั้น และนี้ก็คือตัวอย่างง่ายๆ ที่เราทุกคนก็ทำได้เพียงแค่เริ่มต้นที่ความรู้สึกดีๆ คิดที่จะแบ่งปันรอยยิ้มให้กับคนรอบข้างคุณ “Have a great night !” ขอบคุณครับ

คามิน


Kimsooja, korean artist, visits the space with Mary Jane Jacob and the MFA class.

To Kamin 
From MJ 
October 2, 2011

Exhibitions in our school are always in motion. Shows go up and down fast; that is how students learn, and there are always more students to show and learn (we display the work of over 1,000 students annually). The exhibition that Kamin and students from the School of the Art Institute have created is one that is in perpetual motion. On view much longer than most—it is here all fall semester—it is constantly changing. It is the receptacle for new works and new participants, the setting for action and activities. (For me, it has become my “companion classroom” where I bring more inspiring artists, as Kamin is, to share thoughts with students in a comfortable atmosphere that enhances their receptivity and listening while welcoming these visitors.) We have staged other shows that operate in this fluid way. In fact, we opened the Sullivan Galleries three years ago with Department (Store), a grand collaboration between artist J. Morgan Puett and the students and the city. It set the pace for the way we work. Kamin has continued this direction and at the same brought the experience to a new level of being in the gallery.

We are a school with a museum: when the School of the Art Institute of Chicago was founded in the 1850s, it soon became evident that to learn how to make art, one needed to look at art. An initial collection has today become the museum of the Art Institute, one of the greatest collections in the US. Their students have learned through the decades from the masters, from deep looking, incidental moments, or accidental encounters with works in the museum. With Kamin we have a living museum.

Our focus as a school is on artists today. They are, of course, living, breathing beings, and we seek to help them find how art can be their life’s work. But their life is also part of their art—at best it is their art. Artists live their practice and their practice of life is art. Yet this is not a concept that fits so comfortably in the world of museums which focus rather on the care and display of objects, and where the monetary value these objects at times overrides what else that artwroks possess and can convey. Kamin has brought us back to see what art can mean in our lives and, even more so, to see the art we live with in everyday and whose value is also great. This is a lesson for students and of all of us.

Mary Jane Jacob
Executive Director of Exhibitions and Exhibition Studies
School of the Art Institute of Chicago


31st Century Museum of Contemporary Spirit (Laboratory) @ Chicago

Kamin Lertchaiprasert

Project Director:

Mary Jane Jacob

Curator:

Vipash Purichanont

Project Staff:

Trevor Martin

Kate Zeller

Christina Cosio

Vipash Purichanont

Norman L. Miller

Instructors:

Kamin Lertchiaprasert

Prof. Bob Peters

Assistant Instructor:

Vipash Purichanont

Students and Participants:

Joel Parsons

Katie Waddell

Lauren Goldstein

Marissa Lee

Rebecca Hernandez

Yefeng Wang

Xin Wang

Video Editor:

Yefeng Wang

Xin Wang

Support Staff:

Todd Cashbaugh

Timothy McMullen

Lucas Bucholtz

Abigail Wilson

Sarah Welch

Haley Martin

Annie Bielski

Brian Khek

Olivia Irja Strautmanis

Chanel C Thomas

Anthony Blair Creeden

Acknowledgements

The School of the Art Institute of Chicago

Sullivan Gallery

Dorchester Project:Theaseter Gate, Eirn Toale

City Farm Chicago:Ken Dunn

Wat Pa Chicago

The Thai Consulate-General

Consul General:Narong Sasitorn

Udom Surangsophon

Prof. Sarah Peters

Prof. Nora Taylor

Prof. Sandra Cate

Rangsan Rattawavichit

Kanchana Sakulsorn

Tanee ChannaTup

Suriya Noitumyea

Panupong Pinyo


©31century.org | Web Site Represented