31st Century Museum of Contemporary Spirit (Station)

Language : ENGLISH : THAI

 

พิพิธภัณฑ์จิตวิญาณร่วมสมัยศตวรรษที่ 31 (สถานี) (14 กุมภาพันธ์ 2554 – 14 กุมภาพันธ์ 2559)
100/6 หมู่ 10 ซอยวัดอุโมงค์ 11 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

 

 

 

สถานีตู้บรรจุวัฒนธรรม (Container of Cultural Station)

 

สถานี หมายถึง จุดนัดพบหรือเปลี่ยนผ่าน ส่วน คอนเทนเนอร์หมายถึงพื้นที่ว่างที่บรรจุสิ่งของ เพื่อการขนส่งและเคลื่อนย้ายได้ ทั้งสองความหมายนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของความคิด เพื่อนำเสนอทางเลือกในการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นสถานที่ถาวรวัตถุขนาดใหญ่โต หรือสร้างโดยสถาบันทางสังคม หรือต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ไม่มีข้อกำหนดของเวลา ว่าจะต้องทำให้เสร็จเมื่อไหร่ ? ไม่มีตัวเลข ว่าจะมีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ? ทำแล้วจะมีคนมาดูกี่คน ? ชอบไม่ชอบ ? หรือว่าจะดำเนินการอย่างไร ? ฯลฯ คำถามในเชิงกลยุทธ์ธุรกิจทั้งหมดเหล่านี้ แน่นอนว่าต้องเกิดขึ้นในใจของผู้คน แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว มันเป็นคำถาม ที่ข้าพเจ้าต้องการเรียนรู้หาคำตอบจากโครงการนี้ หรือว่าคำตอบมันอาจจะอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ในตัวของมันเองก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดคุณค่าทางวัฒนธรรมได้เอง โดยไม่ต้องขึ้นตรงต่อสถาบันทางสังคม และคุณค่าทางประวัติศาสตร์กระแสหลักทั้งหลาย

ตู้คอนเทนเนอร์เจ็ดแปดตู้จัดวางเป็นเลขสามสิบเอ็ด ภายในบรรจุด้วย “หลักฐาน” ของผลงานและกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม เป็นโครงการเรียนรู้กระบวนการทางวัฒนธรรม จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากการพบเห็นพื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้าน จึงต้องการใช้พื้นที่นี้จัดกิจกรรมที่ให้เกิดประโยชน์ ข้าพเจ้าจึงติดต่อขอเช่าพื้นที่ระยะเวลา 5 ปีและได้สร้างพื้นที่จำลองชั่วคราวโดยการนำตู้คอนเทนเนอร์มาจัดวางแทนการปลูกสร้างอาคารเพื่อรวบรวมผลงานและกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเกิดจากการสร้างสรรค์ที่มีความบริสุทธิ์และมีเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก สื่อถึงความรักความเมตตาและเป็นการแสดงออกที่เกิดจากการเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์ภายในตนและผู้อื่น โดยไม่จำเป็นที่จะเป็นผลงานที่สะท้อนทักษะทางสุนทรียภาพขั้นสูง ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากศิลปินมีชื่อเสียงในสังคมเท่านั้น เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าเราทุกคนต่างมีความคิดสร้างสรรค์และคุณค่าทางจิตวิญาณเท่ากัน โดยในที่นี้ จะเป็นพื้นที่เปิดให้เยี่ยมชม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ตลอดเวลา โดยไม่มีเวลาเริ่มและเวลาจบ กิจกรรมจะเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของช่วงเวลาต่างๆ

Please click on the image to see panorama view

Meditation Room Personal Spirit Social Spirit Click to View Click to View Tea Room

หลายสิ่งที่รวบรวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์มิได้เป็นผลงานทางศิลปะ ที่มีความเป็น “ต้นแบบ” (originality) หากแต่เป็นเพียง รูปถ่าย หรือผลงานจำลอง หรือ เรื่องเล่าของเหตุการณ์ที่ข้าพเจ้าได้ประสบ มีความประทับใจ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการแสดงออกที่แสดงถึงคุณค่าทางความคิดและจิตวิญาณที่ส่งผลต่อสำนึกทางความคิดของตัวข้าพเจ้าเอง โดยข้าพเจ้าหวังว่าผู้ดูสามารถซึมซับประสบการณ์เหล่านี้และซาบซึ้งในคุณค่าหรือเข้าใจในความหมายบางอย่างของความเป็นมนุษย์ดังเช่นที่เกิดกับตัวข้าพเจ้าเอง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประมาณยี่สิบปี่ที่แล้ว ข้าพเจ้าพบพี่ฤกษ์ฤทธิ์ครั้งแรกที่นิวยอร์ก ขณะนั้นเขากำลังแสดง Performing Art ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ Art Against Aids ในผลงานที่ชื่อว่า “Shall We Dance” ด้วยการเปิดแผ่นเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง King and I โดยตัวศิลปินเองเชิญผู้ชมที่เดินผ่านไปมาในขณะนั้นร่วมเต้นรำไปกับเขา สถานการณ์ทั่วโลกในระยะยี่สิบปีที่แล้ว ต่างตระหนกกับเชื้อ HIV ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อยังมีน้อย แต่ตัวศิลปินกับเชื้อเชิญผู้คนแปลกหน้าให้มาสัมผัสตัวและเต้นรำร่วมกัน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่างานชิ้นนี้เป็นการแสดงออกถึงความรัก และความเคารพในความเป็นมนุษย์ของเราแต่ละคน เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ทางจิตวิญาณ ทำลายกำแพงความหวาดระแวง ความกลัวที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ด้วยกัน หรืองานอีกหลายชิ้นที่มิได้เกิดจากการสร้างสรรค์โดยศิลปินก็ตาม

บางตู้คอนเทนเนอร์ จะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุด จัดเก็บรวบรวมหนังสือ ที่แนะนำโดยบุคคลต่างๆ คนละหนึ่งเล่ม ที่เป็นแรงบัลดาลใจในการดำเนินชีวิตของเขา หรือที่เขาประทับใจ เพื่อให้คนอื่นได้มีโอกาสได้อ่านและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีต่อกัน และบางตู้จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องฉายหนัง ซึ่งจะรวบรวมหนังต่างๆที่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณ และเป็นแรงบัลดาลใจต่อการดำเนินชีวิตในสังคม จากการแนะนำของบุคคลต่างๆ คนละหนึ่งเรื่อง ที่เขาประทับใจ ห้องชา พื้นที่สำหรับพักผ่อน ดื่มชา อ่านหนังสือ และอีกห้อง คือ ห้องนั่งสมาธิ ด้วยการใช้เสียงประกอบในการนั่ง(Sound Art) โดยเป็นผลงานของศิลปิน ชาวใต้หวัน ชื่อ เฉิน หมิง จี้ ศิลปินได้บันทึกเสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่นเสียงลมพายุ น้ำตก ระฆัง ฯลฯ มาประกอบกัน ซึ่งข้าพเจ้าเคยมีประสบการณ์ในการฟังเสียงนี้ แล้วรู้สึกประทับใจ เหมือนตกอยู่ในภวังค์ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่แปลกมาก และในบางโอกาส พื้นที่ทั้งหมดอาจจะปรับเปลี่ยนมาเป็น พื้นที่จัดกิจกรรม สอนศิลปะเด็ก วาดเส้น เซรามิค ดนตรี โดยอาสาสมัคร ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความคิดที่อยากจะแบ่งปันองค์ความรู้ กิจกรรมทั้งหมดนั้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สำหรับผู้เข้าร่วม

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นถึงกิจกรรมหรือเหตุการณ์ ที่ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ร่วมและเป็นแนวทางในการรวบรวมผลงานเข้าสู่สถานีตู้บรรจุวัฒนธรรม ซึ่งข้าพเจ้าหวังว่าเมฆก้อนนี้จะผลิตองค์ความรู้ที่มีคุณค่า เป็นมุมมองที่ถูกละเลย ให้กลายเป็นฝนตกลงมา ที่ทำให้เมล็ดพันธ์แห่งจิตวิญาณของเราได้เติบโตขึ้นอีกครั้ง

 

คามิน เลิศชัยประเสริฐ
16-18 กุมภาพันธ์ 2553

 

 


เป็น อยู่ คือ – คามิน เลิศชัยประเสริฐ
Video Credit:  © AoeiTube

 

 

 

more.. Works in 31st Century Museum of Contemporary Spirit, Station

 

issuu

 


พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31

คามิน เลิศชัยประเสริฐ

ทีมงาน

ปพนศักดิ์ ลออ
ตวงพร ปฏิปทาพานิชณ์
อาภาพรรณ ปลั่งศิริสุนทร
กฤชนันท์ ศรีระกิจ
Primrupa Sujaridnern

ศิลปินและนักวัฒนธรรม

ฤกษ์ฤทธิ์  ตีระวนิช
อิ่มหทัย  สุวัฒนศิลป์
ศรชัย  ตั้งบุตราวงศ์
อุดม  อุดมศรีอนันต์
Carl Michael von Hausswolff
Ming Ching Chen
Rasmus Nielsen
Ttierelee Jochem
กอบกาญจน์  วัฒนวรางกูล
ประมวล  เพ็งจันทร์
สมโภชน์  แซ่อั่ง
สมลักษณ์  ปันติบุญ
Taring Padi
Superflex
วสันต์  สิทธิเขตต์
มานพ และดร.รัมภา  รัตนฤทธิกุล
รุ่งศักดิ์  อนุวัตรวิมล
พีรพัฒน์  อัครพัฒน์
กฤชนันท์  ศรีระกิจ

ออกแบบและวิศวกร

คามิน เลิศชัยประเสริฐ –  ออกแบบ
รังสฤษดิ์ คันธา – วิศวกร
อนันต์   พรมมนุษย์ – ออกแบบ Lay-Out
วิชาติ    สมแก้ว – Computure perspective drawing
สวภัทร์ ไชยฤกษ์ – ประสานงาน

ช่างและก่อสร้าง

สมคิด  อินปั๋น
พล  จันทร์คำ
อดุลย์  ดงไพรพนา
วรรณ  เหมยแก้ว
ฉลอง  ปัญญา
สมบุญ  ขันตี
เสฎฐวุฒิ  ภิญโญฤทธิ
ประสาน  คำสุข
ดี
ชัย
ลุงถา

Website

Thai Interactive Studio (THAIIS)

ทีมงานวันเปิดพิพิธภัณฑ์

เทพฤทธิ์  นันทสกุล
เดือนทะเล  อินทร์จันทร์
ชลธิชา  สุจริตพินิจ
ประภาพร  คำหยาด
จิรวงษ์  วงษ์ตระหง่าน
อนุชาติ  มาเมือง
ณุพล  วิริยะวงษ์
ภาวิตา  รักกาญจนันท์

ช่างภาพ

นภาพรรณ  วงศ์ตะลา
อำนาจ  เจริญประสพสุข
ชวนัก  พวงคต
เชิดวุฒิ  สกลยา
อานนท์  นงเยาว์
ธีรมล  บัวงาม
Josh  Dick
Ming Ching Chen

อาหารและเครื่องดื่ม

ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช – ข้าวขาหมู
ดวงพร อินจันทร์ – Namaste Coffee Shop เครื่องดื่ม
เกริกบุรินทร์ เกิ้งบุรี – ร้านชั้นหนึ่ง นิมมาน เครื่องดื่ม
พิชัย บุญคุ้มอยู่ – ฮอตดอก แฮมเบอร์เกอร์
วรินธร ชูวัฒนกุล
ไทวิจิตร พึ่งเกษมสมบูรณ์
พรสิริ พึ่งเกษมสมบูรณ์ – Mood Mellow
ศีลวัตก์ ลมยานนท์ – ย้อนแยงสุนทรียะและสหาย ซูชิ
นเรศ บุญชู – ข้าวผัดเจ
สถาพร วงค์มา
ร้านสลิ่มสีแดง – ไข่ทอด แซนวิช
572 Umong –  สลัดเวียดนาม
ทีมงานปิ้งย่าง
ณัฐวุฒิ  รักษ์ประสิทธิ์
วรัญญา  เสริมสาธณสวัสดิ์
ไตรรัตน์  บูรณะพลานามัย
ปัทมา  พานทอง
สุทธิภา  เกียรติสาร
รวิวรรณ  เปรมแปลก
ธีระภัทร์  เจือนาค
รติบดี  แสงสว่างพิพัฒน์
นทีพล  เจริญธุระยนต์

พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31 ขอแสดงความขอบคุณ บุคคลและหน่วยงาน
ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนในการดำเนินงานของโครงการนี้ให้ราบรื่น

ดังรายชื่อต่อไปนี้

เกียรติศักดิ์  กัลยาสิริวัฒน์
วิมล  กัลยาสิริวัฒน์
นำทอง  แซ่ตั้ง
จตุพร  รัตตนิล
ธวัชชัย  สมคง
อำนาจ  เจริญประสพสุข
กิตติยา  กาวีวงศ์
จารุวัชร  วงศ์คำจันทร์
จิราวรรณ   จีนวรรณ
Joshep  Ng
Calvin  Chen
Sawai  Kiyo
Cindy   Wang
อภิศักดิ์  สนจด
รัชนก   เกตุบุญเรือง
วิภาช  ภูริชานนท์
Aida  Mammadova
Hallam  Chow
Fine Art Magzine

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ระยะเวลาห้าปี ปีละหนึ่งท่าน สนับสนุนโดย

ดร.ดิสพล จันศิริ Dr. Disaphol Chansiri
สมประสงค์ สหวัฒน์ Somprasong Sahawat
H2 Foundation for Arts and Education Limited
คุณนพดล โลจนาทร และคุณลัดดา โลจนาทร

©31century.org | Web Site Represented