31 century museum station

Library

All books and movies collected in the 31st Century Museum of Contemporary Spirit are selected by people my invitation to choose one of their impressive book and movie. These people I’ve known them personally and feel good with them. They experience me with their positive energy that I cannot clearly explain through the word. Generally speaking, I can feel their compassion, love and sacrifice which they give and share to others. However I did not mean that theses qualifications do not exist in us, but we do not take these things out as a way of life in certain circumstances. I think that all the books and movies which are selected by the person who have the positive energy will be transmitted to the audiences.


ห้องสมุด

หนังสือและภาพยนตร์ทั้งหมดที่ถูกเลือกมาไว้ในพิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31 (สถานี) โดยบุคคลที่ผมเชิญเพื่อเลือกหนังสือคนละหนึ่งเล่มและภาพยนตร์คนละหนึ่งเรื่อง บุคคลเหล่านี้ผมเลือกจากความรู้สึกที่ดีผ่านประสบการณ์ตรงที่ผมรู้จักเป็นการส่วนตัวและสามารถสัมผัสได้ว่าบุคคลเหล่านี้ มีคุณลักษณะสำคัญร่วมกันคือ มีการแสดงออกถึงพลังงานเชิงบวก (Positive Energy) ซึ่งผมไม่สามารถอธิบายผ่านทางภาษาได้ชัดเจน ว่าเหตุใดผมจึงรู้สึกเช่นนี้ต่อบุคคลกลุ่มดังกล่าว พูดให้ง่ายคือผมรู้สึกถึงความเสียสละ การแบ่งปันความรัก ความเมตตาและความห่วงใยต่อผู้อื่นในสังคมที่มีในบุคคลกลุ่มนี้ แต่มิใช่ว่าสิ่งที่กล่าวมานี้ไม่ได้มีอยู่ในเราทุกคน หากแต่เพียงในบางสถานการณ์เราไม่ได้นำสิ่งเหล่านี้ออกมาใช้เป็นวิถีชีวิต ผมคิดว่าหนังสือหรือภาพยนตร์ที่ถูกเลือกมาโดยบุคคลที่มีพลังงานเชิงบวกนี้ จะสามารถส่งผ่านให้กับผู้ที่เข้ามาอ่านหรือชมได้


Rasmus Nielsen

Vertico (1958)
Director : Alfred Hitchcock


It’s a film which seems to be about a man fear of heights (Vertigo) but is really a film about time…about mans struggle with time. The Vertigo of time.


ขอแนะนำภาพยนตร์เรื่อง “Vertico” กำกับโดย Alfred Hitchcock ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ดูเหมือนกับว่าเป็นเรื่องของผู้ชายที่กลัวความสูง แต่จริงๆ แล้วเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องของเวลา เป็นเรื่องของคนที่ดิ้นรนต่อสู้กับเวลา


………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


Ttierelee Jochem


Hi Kamin

Re-thinking your invitation/question which film influenced me the most/changed my life, my perspectives. Returning to antwerp after visiting you, rirkrit and annette and finishing one of the two books i took with me to thailand; verzegelde tijd/sculpting in time by andrei tarkovski (a book accompanied by two films; het offer/the sacrafice and a film by andrei on the making of the latter) i found tickets of an earlier visit. made me think that these books/films, the other being memories of the future by catherine lupton (a book on chris marker), must really like thailand and maybe they should return and stay their. but thinking it over no matter how hard both directors/documentary maker(s) and their body of work inspired me both books and films answering your question and the whole making a good story i can’t say they changed my life that profound. If i have to pick one who did just that i can’t help but choose one i shot myself. untitled; a lot of people. a future film, documentary on the my conversations.

Tierelee jochem



สวัสดีคามิน

ผมได้คิดทบทวนเกี่ยวกับคำเชิญและคำถามของคุณถึงเรื่องภาพยนตร์ที่ส่งผลต่อชีวิตและมุมมองของผม ผมอ่านหนังสือจบหนึ่งในสองเล่มที่ผมนำติดตัวด้วยระหว่างเดินทาง หลังจากที่ไปเยี่ยมฤกษ์ฤทธิ์และแอนเน็ตที่ประเทศไทย verzegelde tijd/sculpting in time เขียนโดย Andrei Tarkovski (หนังสือเล่มนี้มีหนังสองเล่มประกอบ คือ the offer/the sacrifice) ผมได้เจอตั๋วเดินทางครั้งก่อนซึ่งทำให้ผมคิดถึงภาพยนตร์ของ Chris Marker และหนังสือ Memories of the Future เขียนโดย Catherine Lupton (เป็นหนังสือที่ว่าด้วยผลงานของ Chris Marker) ผมคิดว่าทั้งหนังสือและภาพยนตร์ดังกล่าวเกิดจากความตั้งใจของผู้เขียนและผู้สร้าง ซึ่งสามารถสื่อออกมาได้เป็นอย่างดีและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผม แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ชีวิตผมเปลี่ยนแปลงในแง่มุมที่ลึกซึ้ง ถ้าจะให้ผมเลือก ผมขอเลือกหนังที่ผมถ่ายทำขึ้นเอง “untitled; a lot of people” ซึ่งเป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับบทสนทนาของผม

Tierelee jochem

 

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….






Kobkarn Wattanavrangkul

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูล

The Little PrinceAuthor: Antoine De Saint-Exupery

This is the book I love most because of it is a juvenile book for grown-up people. My mother bought me since I was child. I’ve been reading it every year until now and my understanding to this book has change each time I read, as I’m growing up. This book is like a philosophy book that teaches us to never lose our imagination and search for our creative mind. Every kid has imagination, they can see the invisible things, they are brave to think, to dream. But when we are grow up those things are also disappear, whether by the knowledge we have gained or not, and in the end we are all stuck in the corner and never believe in what we cannot perceive. The picture of a snake swallows up an elephant illustrated at the first page of this book is the best sample; grown-up people can see it as a hat, but children can see that picture as a snake swallows up an elephant which could be described directly from a phrase at page 68 as “It is only with the heart that one can see rightly; what is essential is invisible to the eye.”

I use this book to teach other people, my employees to always have imagination, never lost their dream and dare to lateral thinking. Finally, it is like Albert Einstein once said “Imagination is more important than knowledge.”


Book

เจ้าชายน้อย
อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี : เขียน

รักหนังสือเล่มนี้ที่สุด เพราะเป็นหนังสือเด็กที่ให้ผู้ใหญ่อ่าน คุณแม่ซื้อให้อ่านตั้งแต่เด็กๆ แล้วก็อ่านมาทุกปีจนถึง ปัจจุบัน แต่ความคิดความเข้าใจเปลี่ยนไปตามอายุของเรา เหมือนเป็นหนังสือปรัชญาที่สอนให้คนไม่ลืมที่จะมีจินตนาการ และค้นหาสิ่งที่สร้างสรรค์ในตัวของเราที่ทุกคนมีออกมา เด็กทุกคนมีจินตนาการ สามารถมองเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น กล้าคิด กล้าฝัน แต่พอเราเริ่มโตขึ้นมา ความรู้ที่เราได้รับเริ่มทำให้เราแคบลงเรื่อยๆ หรือเปล่า จนในที่สุดเราล้อมกรอบตัวเอง และเริ่มไม่เชื่อในสิ่งที่ตามองไม่เห็น รูปงูเหลือมกลืนช้างในหน้าแรกของหนังสือนี้จะสื่อความหมายดีที่สุด ผู้ใหญ่มองเห็นแค่เป็นหมวก แต่เด็กสามารถมองเป็นงูกลืนช้างได้ ซึ่งจะตรงกับประโยคในหน้า ๖๘ ที่ว่า “It is only with the heart that one can see rightly; what is essential is invisible to the eye”

ใช้หนังสือเล่มนี้สอนคน สอนพนักงานที่บริษัทให้รู้จักมีจินตนาการ ให้ไม่ลืมที่จะฝัน กล้าคิดนอกกรอบ จึงจะเกิด นวัตกรรม Innovation ได้ในที่สุดเหมือนกับที่ Albert Einstein พูดว่า “Imagination is more important than knowledge.”



Movie

Modern Times (1936)
Director: Charlie Chaplin


I am truly in love with this film because it shows the way how people struggling through crisis with smile. It also teaches us to solve the problems with creative approach, a brave heart, a faith in life and always hope for the bright future. This film could make you cry on your smiling face, it is sad but cheerful.


รักหนังเรื่องนี้เป็นพิเศษเพราะเป็นหนังที่สะท้อนให้เห็นการต่อสู้ของคนที่จะผ่านพ้นวิกฤตด้วยรอยยิ้ม เป็นการสอนให้เรารู้จักมองปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ มีใจที่สู้ มีความศรัทธาในชีวิตและมีความหวังเสมอในอนาคต เป็นหนังที่ดูแล้วหัวเราะ


The original soundtrack of this film “Smile” is my favorite music which could entirely explain the meaning;

“Smile though your heart is aching

Smile even though its breaking

When there are clouds in the sky, you’ll get by

If you smile through your fear and sorrow

Smile and maybe tomorrow

You’ll see the sun come shining through, for you

Light up your face with gladness

Hide every trace of sadness

Although a tear may be ever so near

That’s the time you must keep on trying

Smile, what’s the use of crying?

You’ll find that life is still worthwhile,

if you just smile

That’s the time you must keep on trying

Smile, what’s the use of crying?


………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


Pramuan Pengchan

ประมวล เพ็งจันทร์

Siddhartha
Author: Hermann Hesse

Siddhartha, a character and novel written by Hermann Hesse which translated to Thai by Prapawiwat had been inspiring me since I first read it in 1985. The soul of Siddhartha is always within me from that day to present.

The spiritual wisdom of searching for the meaning and the value of life is hidden in all of us, but it depends on how we could arouse this kind of wisdom to move our life on.

“Siddhartha” is a voice that awakens me up to search for the meaning and the value of life.



สิทธารถะ
เฮอร์มานน์ เฮสสเส : เขียน
ประภาวิวัฒน์ : แปล

สิทธารถะ ตัวละคอนที่เฮอร์มานน์ เฮสสเส นิรมิตขึ้นแล้วถูกถ่ายทอดสู่พากษ์ไทยโดยคุณประภาวิวัฒน์ ได้เป็นแรงบันดาลใจในตัวผมนับตั้งแต่อ่านครั้งแรกในพ.ศ. 2518 จิตวิญญาณสิทธารถะได้สถิตอยู่ในตัวผม นับตั้งแต่วันนั้นมาจวบจนบัดนี้

จิตวิญญาณแห่งการแสวงหาคุณค่าและความหมายของการมีชีวิตอยู่ แฝงอยู่ในตัวมนุษย์ทุกๆ คน ต่างแต่เพียงว่าพวกเราแต่ละคนจะปลุกวิญญาณแห่งการแสวงหานี้ให้ตื่นขึ้นมามีพลังขับเคลื่อนชีวิตของตัวเราได้อย่างไร

สำหรับผมแล้ว “สิทธารถะ” คือ เสียงหนึ่งที่ปลุกผมให้ตื่นขึ้นมาเพื่อแสวงหาคุณค่าและความหมายของการมีชีวิตอยู่

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


Sompoch Aung

สมโภชน์ แซ่อั่ง

Vimuttidhamma
Author: Piyatassi Bhikkhu

Vimuttidhamma is the book that has both the known and the object of the known as a guide to read. The wisdom in this book is not the wisdom in our brain.



วิมุตติธรรม
พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี ภิกขุ : เขียน

หนังสือที่มีตัวรู้กับสิ่งที่ถูกรู้เป็นเครื่องมือในการอ่านและความรู้ที่มีอยู่ในหนังสือก็เป็นความรู้ที่ไม่มีอยู่ในสมอง


………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


Somluck Pantiboon

สมลักษณ์ ปันติบุญ

The Unknown Craftsman: A Japanese Insight into Beauty
(first release in English in 1972)
Author: Soetsu Yanagi

This book is gathering the idea of thinkers, philosophers, artists and craftsmen aim to preserve the art and culture of ordinary people which had been passing from generation to generation and extremely valuable to everyday life after World War 2, since the western culture had had influence in the Asia region especially in Japan, China and Korea.

What happen was “all craftwork become art object” in other words “all craftsmen become artists” as western individualism. These thinkers suggest that “There is no need to be an artist to preserve the ordinary people and craftsman’s way of life.”


หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมตัวของนักคิด นักปรัชญา ศิลปินและช่างฝีมือ อันที่จะรักษางานศิลปวัฒนธรรมของคนธรรมดาสามัญชนที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตประจำวัน ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมีอิทธิพลอย่างมากต่อภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่น จีน เกาหลี

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ “งานช่างฝีมือกลายเป็นงานศิลปะไปหมด” นั่นก็คือ “ช่างฝีมือกลายเป็นศิลปินไปหมด” ตามปัจเจกอย่างตะวันตก นักคิดกลุ่มนี้ให้ความเห็นว่า “การรักษาวิถีชีวิตคนธรรมดาสามัญชนและวิถีช่าง ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นศิลปินก็ได้”


………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


Udom Udomsri-anan

อุดม อุดมศรีอนันต์


The Book of Tea
Author: Kakuzo Okakura

“The book I would like to recommend is “The Book of Tea”, occasionally, we might ask ourselves how we thought about this”


หนังสือแห่งชา
คะซุโซ คะคุระ : เขียน
ประวิตร โรจนพฤกษ์ และ กรินทร์ กลิ่นขจร : แปล

“อยากให้ลองอ่านเล่มนี้ เพราะบางเวลา เราคงคิดถามตัวเราเองว่า เรื่องอย่างนี้ เรามีแนวคิดอย่างไร”


Departure (2008)
Director: Yojiro Takita

“This film shows us the simplicity and meaning of life”

“หนังเรื่องนี้ได้บอกถึงความหมาย ความเรียบง่ายของชีวิตได้ดี”



Share Published on Apr 19, 2011 at 2:25 am.
Filled under: 31 century museum station
No Comments

You must be logged in to post a comment.