31 century museum station

Concept


Introduction

I believe “Art” is the process of learning and understanding nature. Uniqueness is one of the qualities of “good artwork” and we can also find this quality in every of us. We are all having face, eyes, ears, nose, mouth, finger-print or DNA, but those are not the same, even in identical twins. In the similarity, there are always differences. The Nature of human being is the best example of the ‘masterpiece of art’.

Freedom of expression is another quality to identicate “good artwork”. All of us used to have it when we were young, as a child, we don’t have to pretend to be smart to hide our ignorance; we had no fear or worry of hunger, shame, guilt or death etc. Unfortunately, education and socialization took that freedom away. The more we learn about values, ethics, norms, beliefs, and all cultural disciplines, the less freedom we remain.

To take back human being’s creativity and freedom of expression is my ultimate purpose. How could we bring back the confidence of creativity in us while being able to respect the differences of others? I strongly believe that every single person has his/her specific way to express their creativity, which is hidden unconsciously in their everyday life. Therefore all of us are artists who have ability to create the future society together.


บทนำ

ผมเชื่อว่าศิลปะคือกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ เช่นเดียวกับงานศิลปะที่ดีมักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเราสามารถค้นพบลักษณะพิเศษนี้ในตัวเราทุกคน ทั้งในใบหน้า ดวงตา จมูก ปาก ลายนิ้วมือ หรือแม้กระทั่งรหัสพันธุกรรมของเราเอง เราแต่ละคนมีเหมือนกันแต่ในความเหมือนก็มีความแตกต่างกันไป แม้กระทั่งฝาแฝด ในความคล้ายคลึงก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างในตัวเอง อาจกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์นั้น คือตัวอย่างของงานศิลปะชั้นเลิศเลยทีเดียว

เสรีภาพในการแสดงออกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความพิเศษในงานศิลปะ เราทุกคนเคยมีความพิเศษชนิดนี้อยู่ในตัวเมื่อยังเป็นเด็ก เราไม่จำเป็นต้องสำแดงความฉลาดเพื่อปิดบังความโง่เขลา เราปราศจากความกลัว ความกังวล ความโหยหิว ความสำนึกผิด ความอับอายและความกลัวตาย โชคไม่ดีนักที่การศึกษาและสภาพสังคมที่เราอยู่ ได้พรากความอิสระเหล่านั้นไป ทั้งค่านิยม ศีลธรรม ความเชื่อและวัฒนธรรม ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าใด สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้เสรีภาพในการแสดงออกของเราน้อยลง การนำความคิดสร้างสรรค์และเสรีภาพในการแสดงออกของการเป็นมนุษย์กลับคืนมา คือจุดประสงค์ที่ผมปรารถนา

ทำอย่างไรเราจะสามารถทวงคืนความมั่นใจในอิสระแห่งการสร้างสรรค์ที่เราเคยมีกลับมา เพื่อที่จะอยู่ร่วมและเคารพความแตกต่างของกันและกัน ผมเชื่อมั่นว่าในตัวเราทุกคน มีวิธีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์เฉพาะตน ซึ่งดำรงอยู่ในจิตใต้สำนึกที่ดำเนินอยู่ทุกขณะในชีวิตประจำวันของเรา เพราะฉะนั้น เราทุกคนจึงมีความเป็นศิลปินที่สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมแห่งอนาคตร่วมกัน



Concept

It does not mean we demand to eliminate the established museums. Although museum demarcates the border, gives us the distinction what is art, and what is not. Museum might be able to standardize so-called ‘the culture’ for a society, nevertheless fells to address individual’s significance. For the 31st Century Museum of Contemporary Spirit, Kanazawa, this project aims to give people back the freedom of expression, evokes them to realize and strengthen their self-confidence in their hidden ability to create creative activities, gives them back the power to evaluate individual’s expression regardless the mainstream’s cultural or aesthetics’ value. Everyone is an artist, a curator, and an owner of a museum.

Hence every single individual has his/her unique character, and his/her own way of express their creativities unconsciously through their everyday life. From this point, it provokes me to consider the process people creates or even invent the story or specific meaning to the objects they give or be given. I believe some of their objects which have its own story and specific history must carry its own spirit and energy of creation. Sometimes monetary value cannot be given. It is not necessary that object is made of costly material. It can simply be an ordinary object for the others, but meaningful to someone’ spirit. For example gifts, wishes, postcards, rings, flowers, or just small things receiving from dear persons. It also can be from people we not even know or just really somebody who gives with good intention, love, mercy, care, sympathy, encouragement or something else. It can also be energy, vibration sending out from that object. I believe we all have these kinds of objects or at least used to touch them. But often times we tend to forget or secretly keep them only for ourselves and have no time to think about its meaning. For this project, therefore, I would like to ask collaboration form everyone to share this meaningful experience with others.


แนวคิด

เรามิได้มีความประสงค์ที่จะทำลายความเป็นสถาบันของพิพิธภัณฑ์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นแต่อย่างใด หากแต่ตัวพิพิธภัณฑ์เองที่กำหนดขอบเขตและแบ่งแยกว่าสิ่งใดคู่ควรที่จะเป็นศิลปะหรือสิ่งใดไม่ใช่ พิพิธภัณฑ์อาจกลายเป็นมาตรฐานบ่งชี้วัฒนธรรมของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์มิได้บันทึกหรือรวบรวมลักษณะความสำคัญของแต่ละปัจเจกในสังคม สำหรับพิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31 คือโครงการที่มุ่งหวังให้ผู้คนกลับมามีเสรีภาพในการแสดงออก ปลุกจิตสำนึกความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งที่ซ่อนอยู่ภายใน ให้ออกมาโลดแล่นสร้างสรรค์ เรียกคืนพลังในการประเมินค่าของตัวตนที่แสดงออกมาอย่างไม่ต้องยึดติดกับวัฒนธรรมกระแสหลัก หรือคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ ทุกคนเป็นศิลปิน เป็นภัณฑารักษ์และเป็นเจ้าของ พิพิธภัณฑ์ร่วมกัน

ด้วยเหตุที่ในตัวคนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะในตัวเอง และแต่ละคนต่างมีวิธีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในแบบของตัวเองตลอดชีวิตประจำวันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จากจุดนี้ได้กระตุ้นให้ผมนึกถึงกระบวนการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เรื่องราวที่ให้ความหมายเฉพาะต่อสิ่งของ ทั้งจากผู้รับและผู้ให้ ผมเชื่อว่าสิ่งของบางชิ้นมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์เฉพาะที่บรรจุจิตวิญญาณและพลังงานแห่งการสร้างสรรค์เอาไว้ ซึ่งไม่อาจประเมินราคาได้ ไม่สำคัญว่าของชิ้นนั้นจะทำมาจากวัสดุราคาแพงหรือไม่ อาจเป็นสิ่งของที่เรียบง่ายธรรมดาสำหรับคนอื่น แต่มีความหมายทางจิตใจอย่างมากมายสำหรับบางคน ตัวอย่างเช่น ของขวัญ คำอวยพร โปสการ์ด แหวน ดอกไม้ หรือแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับจากคนที่เรารัก บางครั้งอาจจะได้รับจากคนที่ไม่รู้จักกันเลย หรือเป็นใครบางคนที่ให้สิ่งนั้นด้วยความปรารถนาดี ด้วยความรัก ความห่วงใย ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ให้เพื่อเป็นกำลังใจ หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ ซึ่งสามารถส่งผ่านเป็นพลังงานออกมาจากของสิ่งนั้น ผมเชื่อว่าเราทุกคนมีสิ่งของประเภทนี้อยู่หรืออย่างน้อยก็เคยได้สัมผัส แต่เรามักจะลืมหรือแอบซ่อนไว้อยู่คนเดียว และอาจมีบางครั้งที่เราไม่มีเวลาคิดหาความหมายที่ซ่อนอยู่ สำหรับโครงการนี้ ผมจึงขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ที่มีคุณค่าและความหมายร่วมกับผู้อื่น


Share Published on Apr 19, 2011 at 1:26 am.
Filled under: 31 century museum station
No Comments

You must be logged in to post a comment.