News

ไม่มีอะไรพิเศษ

Language : ENGLISH : THAI

no-11

เรามักจะมองหาและมุ่งหวังผลลัพธ์ที่พิเศษจากการกระทำของเราในทุก ๆ เรื่องตลอดเวลา และเมื่อได้รับผลลัพธ์นั้นก็จะทำให้เราเกิดความปิติ ดีใจ เป็นสุข สมหวัง แต่ถ้าไม่ได้พบ มันก็จะรู้สึกผิดหวังและเป็นทุกข์

ข้าพเจ้าเริ่มต้นการปั้นถ้วยชาทุกวันที่อยู่ในสตูดิโอตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งก็เป็นเวลาปีกว่าล่วงมาแล้ว ด้วยความคิดหรือความรู้สึกในช่วงเริ่มแรกว่ามันน่าจะทำให้ข้าพเจ้าค้นพบหรือเข้าใจความหมายของความพิเศษอะไรบางอย่าง แล้วท้ายที่สุดข้าพเจ้ากลับค้นพบว่า ไม่มีอะไรพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาความหมายของการมีสมาธิอยู่ในปัจจุบันขณะว่าคืออะไร เปรียบเทียบระหว่างการมีสมาธิขณะที่เราปั้นถ้วยชาหรือนั่งทำงานอื่น ๆ ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างอะไรกับสมาธิที่เกิดจากการนั่งสมาธิ (การปฎิบัติธรรม) ซึ่งข้าพเจ้ามักจะได้ยินและได้ฟังจากผู้คนมากมายมาโดยตลอดว่า การทำงานทั่วไปหรือการทำงานศิลปะก็คือการทำสมาธิอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิโดยตรง นี่นับว่าเป็นเหตุผลที่สำคัญที่ข้าพเจ้าสงสัยและต้องการทำความเข้าใจ

13

อีกเหตุผลหนึ่งคือ ข้าพเจ้ามีความสนใจพิธีชงชาของวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยเฉพาะช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยของ
เซนโน ริคิว (พ.ศ.๒๐๖๕-๒๑๓๔) ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการใช้ภาชนะตลอดจนรายละเอียดของการประกอบพิธีชงชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกใช้ถ้วยชารากุธรรมดา ๆ เรียบง่ายจากช่างปั้นพื้นบ้านแทนที่งานที่มีความปราณีต หรูหราของช่างปั้นชาวจีนหรือเกาหลีที่เป็นที่ยอมรับในสมัยนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปเพื่อแสดงถึงความเรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน และเพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในพิธีชงชาได้สัมผัสถึงแก่นแท้ของธรรมชาติที่มีอยู่ในเราทุกคน แต่ปัจจุบัน ถ้วยชารากุที่ใช้ในพิธีชงชา กลับมีราคาสูง เป็นสิ่งพิเศษและ หายาก ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง ทั้งนี้ไม่ต่างอะไรกับถ้วยชาจากจีนหรือเกาหลีในยุคนั้น

กระบวนการปั้นถ้วยชาในแต่ละวันของข้าพเจ้า เริ่มต้นในแต่ละเช้าวันใหม่ด้วยการอ่านหนังสือจิตใหม่ หัวใจเซน (Zen mind, Beginner’s mind) เขียนโดยท่านซุนริว ซูซูกิ หลังจากนั้นก็จะนั่งสมาธิ แล้วจึงนวดดินและนำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ จากนั้นก็คว้านเอาดินตรงกลางออก ให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้น จะว่าไปแล้ว มันก็คือการสร้างพื้นที่ว่างภายใน มากกว่าเป็นการปั้นถ้วย เพราะความว่างภายในถ้วยนั้นเอง จึงทำให้ก้อนดินกลายเป็นถ้วย สิ่งนี้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจว่าโดยแท้จริงแล้วหัวใจหรือคุณค่าที่แท้ของถ้วยชาก็คือความว่าง ไม่ใช่อยู่ที่ความสวยงามของสีสัน รูปทรงภายนอกหรือมูลค่าทางวัตถุ

12ในระยะแรกข้าพเจ้าต้องการสร้างรูปทรงของถ้วยชาที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาหรือถ้อยคำข้าพเจ้าเลือกอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวทุกวัน วันละหนึ่งบท เพื่อที่จะถอดถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมายที่ข้าพเจ้าประทับใจและพยายามทำความเข้าใจความหมายของมันตลอดเวลาทั้งวัน จากนั้นก็นำข้อความมาเขียนลงบนถ้วย เหตุผลที่เลือกหนังสือเล่มนี้เพราะคิดว่าเป็นหนังสือที่อธิบายสัจจะของธรรมชาติได้ดีและเรียบง่าย อย่างตรงไปตรงมา เนื้อหาทั้งหมดพุ่งตรงไปที่สัจจะของชีวิตและกฏธรรมชาติ นั่นก็คือความว่างและการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง ทุกขณะตลอดเวลา โดยแสดงออกถึงสภาพการ ไร้การยึดมั่นในตัวตน (self centric, self attachment) และหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

หลังจากได้ทำงานมาเป็นเวลาหนึ่งปี ได้ถ้วยชาจำนวน ๒๗๗ ใบ ข้าพเจ้าตัดสินใจที่จะหยุดใช้ตัวอักษรในการเขียนถ้อยคำที่มีเนื้อหาอธิบายสัจธรรมลงบนพื้นผิวของถ้วยชา เพราะข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจว่าเราไม่สามารถอธิบายสัจจะผ่านภาษาและถ้อยคำได้ เพราะสัจจะนี้มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างและทุกขณะในวิถีชีวิตของเราทุกคน เป็นกระบวนการต่อเนื่องของการกระทำและการไม่กระทำของการมีอยู่และการไม่มีอยู่ในขณะเดียวกันตลอดเวลา ยิ่งเราพยายามอธิบายสัจจะ มันก็จะทำให้เรายิ่งออกห่างจากความจริงมากยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจึงปั้นถ้วยชาโดยปราศจากการเขียนถ้อยคำแต่ปล่อยให้สิ่งที่อยู่เหนือพ้นสภาวะรูป นาม และเหนือพ้นจิตสำนึก ไร้ขอบเขตของกาลเวลา แสดงตนออกมาอย่างไร้รูปแบบ จุดมุ่งหมายของการนั่งสมาธิคือการมีประสบการณ์โดยตรงกับสัจจะและธรรมชาติ นั่นก็คือความว่าง ร่างกายหรือตัวตนโดยปกติแล้วเป็นผู้เฝ้าสังเกต (subjective) กลับกลายเป็นวัตถุในการถูกเฝ้าสังเกต (objective) ผลที่ได้รับจากการนั่งสมาธิคือสติหรือปัญญาในการเข้าใจและเข้าถึงสัจธรรมไม่ใช่ผลที่เป็นวัตถุ

18

แต่จุดมุ่งหมายของการปั้นถ้วยชา คือการทำงานในวิถีชีวิตปกติ ตัวผลงานหรือถ้วยชาเป็นวัตถุในการถูกเฝ้าสังเกต (objective) ในขณะเดียวกันถ้วยชาก็เปรียบเสมือนกับร่างกายของเราในขณะที่เรานั่งสมาธิ และในกรณีนี้ตัวผู้ปั้นเป็นได้ทั้งผู้เฝ้าสังเกต (subjective) และสิ่งที่ถูกเฝ้าสังเกต (objective) ผลที่ได้รับจากการปั้นคือความคาดหวังในตัวถ้วยชาที่มีความงามหรือไม่งามทางสุนทรียศาสตร์ ขึ้นอยู่กับเจตนาและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ต่เมื่อเราไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ทางสุนทรียศาสตร์และความเป็นวัตถุ การปั้นก็จะมีกระบวนการหรือจุดหมายในการสร้างสรรค์เช่นเดียวกับการนั่งสมาธิ ถ้าจุดมุ่งหมายของการปั้นคือการเข้าถึงความจริงในขณะปัจจุบัน การทำให้เรากลายเป็นปัจจุบันขณะจึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ใช่แค่เราอยู่ในปัจจุบันขณะ และถ้าจุดมุ่งหมายไม่ใช่มุ่งเน้นที่ความงามหรือสุนทรียศาสตร์ทางกายภาพซึ่งปรากฏภายนอกของถ้วยชา แต่กลับกลายมาเป็นการมุ่งเน้นคุณค่าที่มีอยู่ภายในของตัวผู้ปั้น การปั้นถ้วยกับการนั่งสมาธิก็จะไม่แตกต่างกัน แต่แท้จริงแล้วมันไม่มี จุดหมายทั้งภายในและภายนอก เพราะสัจจะเป็นหนึ่งเดียวกันโดยธรรมชาติ มันไม่อาจแยกออกจากกัน มันไม่มีทั้งความงามและความไม่งามหรือความดีและความไม่ดี มันไม่ใช่หนึ่งหรือสอง แต่มันเป็นทั้งหนึ่งและสอง มันเป็นความพิเศษที่ปราศจากความพิเศษและความไม่พิเศษในขณะเดียวกัน ซึ่งภาษาไม่อาจอธิบายได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ตรงของแต่ละคน มันเป็นการหลอมรวมทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน

A15

เมื่อใจของเราเป็นอิสระจากเป้าหมายและการคาดหวังผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการนั่งสมาธิ จุดหมายหรือเป้าหมายไม่ใช่เพื่อการจะได้มาซึ่งความพิเศษ (การบรรลุธรรมหรือความงดงามของถ้วยชา) ความต้องการที่จะค้นพบความพิเศษกลับกลายมาเป็นข้อปิดกั้นการค้นพบ ความต้องการความงามก็เช่นกัน เป็นเครื่องปิดกั้นการมองเห็นความงามที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติดั้งเดิมของมัน

การที่เราพักผ่อนหรือรอคอยระหว่างที่ดินอยู่ในสภาวะปรับตัวเพื่อเหมาะสำหรับการปั้นและการทำรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน ตัวอย่างเช่น การคอยให้ดินแข็งตัวขึ้นเพื่อที่จะทำการปั้นก้นถ้วย เวลาที่เราหยุดรอคอย ก็คือส่วนหนึ่งของกระบวนการปั้น การไม่กระทำก็เป็นการกระทำในอีกรูปแบบหนึ่งความว่าง  (เวลาของการรอคอยและพื้นที่ภายในถ้วย รวมถึงความไม่คาดหวังในความพิเศษ) เราอาจไม่เคยใส่ใจถึงการมีอยู่ของมันหรือคิดว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกับกระบวนการปั้นและความสมบูรณ์ของถ้วยชา แต่แท้จริงแล้วมันคือหัวใจที่สำคัญที่สุด มันอยู่เหนือพ้นการเป็นทั้งผู้เฝ้าสังเกต (subjective) และสิ่งที่ถูกเฝ้าสังเกต (objective) ณ จุดนี้เองทำให้ข้าพเจ้าตระหนักถึงประสบการณ์จากการนั่งสมาธิ ถ้าเรามุ่งหวังที่จะบรรลุธรรมหรือสิ่งพิเศษ เมื่อนั้นเองเป้าหมายกับตัวเราจะแยกออกจากกัน จึงทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงจุดหมายนั้นได้ แต่เมื่อใดก็ตามที่เรานั่งสมาธิโดยไม่มุ่งหวังกับการบรรลุธรรมหรือสิ่งพิเศษ เมื่อนั้นผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกเฝ้าสังเกตจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และโอกาสที่จะเข้าถึงจุดหมายก็อาจพอมีอยู่บ้าง เพราะจุดหมายได้กลายมาเป็นปัจจุบันขณะ เพียงแค่เราเฝ้าดูทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจตามความเป็นจริงตามธรรมชาติในปัจจุบันขณะ แล้วไม่ไปยึดติดกับเวทนาและความคิดปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบ แต่วางใจให้เป็นอุเบกขา เราจะเห็นสภาวะของการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เราเข้าใจถึงความว่างที่มีอยู่ภายในเรา ซึ่งก็เหมือนกับความว่างที่เกิดขึ้นในกระบวนการปั้นถ้วยชานั่นเอง

A14

จากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้รับจากการปั้นถ้วยชาและการนั่งสมาธิ รวมถึงการกระทำสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นความพิเศษหรือความธรรมดา มันก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ทั้งความดี ความเลว ความสุข ความทุกข์ ความงาม ความ น่าเกลียด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติพิเศษของความว่างที่มีอยู่ในทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกขณะ โดยทั่วไปเราไม่สามารถจะตระหนักรู้ถึงมันเพราะการปรากฎตัวของมันแสดงออกมาในสภาพปกติสามัญธรรมดา ไม่มีอะไรพิเศษ แต่เมื่อเราตระหนักรู้ถึงความ ไม่มีอะไรพิเศษ ของทุกสิ่ง ทุกอย่าง รวมทั้งตัวเองในทุกขณะอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าเชื่อว่ามันจะทำให้เกิดสภาวะที่เป็นอิสระจากการยึดมั่นถือมั่น และไร้ตัวตนไร้ความคิดที่มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เมื่อนั้นความ ไม่มีอะไรพิเศษ ก็คือความมหัศจรรย์ของชีวิตที่มีอยู่แล้วในเราทุกคนตามธรรมชาติ

สุดท้ายนี้ขอระลึกถึงพระคุณของท่านทั้งหลายโดยเฉพาะ

ท่านโกเอ็นกา (S.N. Goenka)
ท่านซุนริว ซูซูกิ (Sunryu Zusuki)
ท่านเซนโน ริคิว (Sen no Ryuku)

ด้วยจิตคารวะ
๒๑-๒๕ กรกฏาคม ๒๕๕๘

 

 

 

 

 

The-Timeless-Present-Moment-

 

รายชื่อถ้วยชา ๒๗๗ ใบ จากทั้งหมด ๓๖๕ ใบ
ตั้งแต่วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ – พฤษภาคม ๒๕๕๘

 
๒ มิถุนายน ๒๕๕๗
๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒ สิงหาคม ๒๕๕๗
๓ สิงหาคม ๒๕๕๗
๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
๕ สิงหาคม ๒๕๕๗
๖ สิงหาคม ๒๕๕๗
๗ สิงหาคม ๒๕๕๗
๘ สิงหาคม ๒๕๕๗
๙ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๖-๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗
๒๘-๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๗
๓๑ สิงหาคม – ๑ กันยายน ๒๕๕๗
๒ กันยายน ๒๕๕๗
๓ กันยายน ๒๕๕๗
๔ กันยายน ๒๕๕๗
๕ กันยายน ๒๕๕๗
๖ กันยายน ๒๕๕๗
๗ กันยายน ๒๕๕๗
๘ กันยายน ๒๕๕๗
๙-๑๐ กันยายน ๒๕๕๗
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
๑๖ กันยายน ๒๕๕๗
๑๗ กันยายน ๒๕๕๗
๑๘ กันยายน ๒๕๕๗
๑๙ กันยายน ๒๕๕๗
๒๐ กันยายน ๒๕๕๗
๒๑ กันยายน ๒๕๕๗
๒๒ กันยายน ๒๕๕๗
๒๓ กันยายน ๒๕๕๗
๒๔ กันยายน ๒๕๕๗
๒๖ กันยายน ๒๕๕๗
๒๗ กันยายน ๒๕๕๗
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
๓๐ กันยายน ๒๕๕๗
๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
๔-๕ ตุลาคม ๒๕๕๗
๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒๐-๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒๕-๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗
๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๒-๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๕-๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๗-๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๒๐-๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๒๔-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๒๖-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
๒๙ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒ ธันวาคม ๒๕๕๗
๓-๔ ธันวาคม ๒๕๕๗
๕-๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
๗-๘ ธันวาคม ๒๕๕๗
๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๐-๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๔-๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๗-๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ – ๒ มกราคม ๒๕๕๘
๕ มกราคม ๒๕๕๘
๖ มกราคม ๒๕๕๘
๗ มกราคม ๒๕๕๘
๘-๙ มกราคม ๒๕๕๘
๙-๑๐ มกราคม ๒๕๕๘
๑๑-๑๒ มกราคม ๒๕๕๘
๑๓ มกราคม ๒๕๕๘
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
๑๖ มกราคม ๒๕๕๘
๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๕๘
๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
๒๑ มกราคม ๒๕๕๘
๒๒ มกราคม ๒๕๕๘
๒๓ มกราคม ๒๕๕๘
๒๔ มกราคม ๒๕๕๘
๒๕ มกราคม ๒๕๕๘
๒๖ มกราคม ๒๕๕๘
๒๗ มกราคม ๒๕๕๘
๒๘ มกราคม ๒๕๕๘
๒๙ มกราคม ๒๕๕๘
๓๐ มกราคม ๒๕๕๘
๓๑ มกราคม ๒๕๕๘
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๔-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑ มีนาคม ๒๕๕๘
๒ มีนาคม ๒๕๕๘
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
๔ มีนาคม ๒๕๕๘
๕-๖ มีนาคม ๒๕๕๘
๗ มีนาคม ๒๕๕๘
๘ มีนาคม ๒๕๕๘
๙ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๑ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๖ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๘-๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘
๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘
๒๒-๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
๑ เมษายน ๒๕๕๘
๒-๓ เมษายน ๒๕๕๘
๓-๔ เมษายน ๒๕๕๘
๕-๖ เมษายน ๒๕๕๘
๖ เมษายน ๒๕๕๘
๗ เมษายน ๒๕๕๘
๘-๙ เมษายน ๒๕๕๘
๑๐ เมษายน ๒๕๕๘
๑๑ เมษายน ๒๕๕๘
๑๒-๑๓ เมษายน ๒๕๕๘
๑๔ เมษายน ๒๕๕๘
๑๕-๑๖ เมษายน ๒๕๕๘
๑๗ เมษายน ๒๕๕๘
๑๘ เมษายน ๒๕๕๘
๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
๒๒ เมษายน ๒๕๕๘
๒๓ เมษายน ๒๕๕๘
๒๔-๒๕ เมษายน ๒๕๕๘
๒๕-๒๖ เมษายน ๒๕๕๘
๒๗ เมษายน ๒๕๕๘
๒๘ เมษายน ๒๕๕๘
๒๙-๓๐ เมษายน ๒๕๕๘
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒-๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
จิตผู้เริ่มต้น
ไม่ใช่สอง ไม่ใช่หนึ่ง
เมตตา
เวลาและที่ว่าง
อิสระ
เงียบ
ภายนอก ภายใน
รูปคือความว่าง ความว่างคือรูป
เคารพทุกสิ่ง
ทุกสิ่งคือพุทธะ
ไม่มีอะไรให้บรรลุ
เอาส่วนเกินออก
ไร้ร่องรอยการคิด
ไม่มีอุดมคติ
จดจ่อสิ่งที่ทำ
ลืมตนเอง
ตัวตนที่แท้จริง
สมํ่าเสมอ
สิ่งที่มีอยู่แล้ว ในเรา (แตกก้น)
ถ้วยคือความว่าง (หาไม่เจอ)
เป้าหมายอยู่ที่ปัจจุบันขณะ
ทุกสิ่งไม่จีรัง (หาไม่เจอ)
กลมกลืน
ความไม่มีอะไร
ความว่าง
สติ
ความเชื่อในความไม่มีอะไร
สงบ
ธรรมชาติดั้งเดิม
จิตสำนึก
จิตไร้สำนึก
ก่อนจิต
ปราศจากข้อจำกัด
ทวิลักษณ์
คุณค่าแห่งตน
อ่อนน้อมถ่อมตน (แตกก้น)
ที่นี่ เดี๋ยวนี้
เบิกบาน
เฝ้าดู
เห็นอย่างที่มันเป็น
วัชพืชแห่งชีวิต คืออาหารแห่งชีวิต
ม้าดีทุกตัว
ถ้วยคือถ้วย (ไม่ได้เขียนข้อความ)
ไม่มีสิ่งใดพิเศษ
การคำนับ
ชั่วขณะหนึ่ง ไปสู่ชั่วขณะหนึ่ง
ทำซํ้า ๆ
ไม่น่าตื่นเต้น
ทำเพื่อทำ
บรรลุเพื่อไม่บรรลุ (มีสองใบ)
การให้คือการไม่ยึดมั่น
ลืมทุกวัน
ไม่มีเป้าหมาย
ศึกษาตัวเอง
เป็นตัวเอง
อุเบกขา ทุกชั่วขณะ
ซื่อสัตย์
บวกลบ สิ่งเดียวกัน
มาจากความว่างเปล่าไปสู่
วิถีชีวิต
ยอมรับ การเปลี่ยนแปลง
ไม่มีกาย ไม่มีใจ
ใจที่อ่อนนุ่ม
มีอยู่ ไม่มีอยู่
มีอยู่เพียงชั่วขณะ (ระเบิด)
ไม่มีรูป ไม่มีสี
สิ่งเดียวกัน
รู้เมื่อเทียบเคียง
ประสบการณ์ไม่ใช่ปรัชญา
ความจริงหลายด้าน
ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต
จิตธรรมดา
เหนือจิตสำนึก
คุณค่าเฉพาะตน
การรู้แจ้ง การปฏิบัติเป็นสิ่งเดียวกัน
โชคชะตา
รู้
ไม่มีการรู้แจ้ง ไม่มีตัวตน
พึ่งพา อิสระ (KIYO)
ไม่มีเธอ ไม่มีฉัน
ไร้ระบบ ระเบียบ มีชีวิต
จิตใหญ่
คิดบวก (KIYO)
สัจจะทำ
วิริยะไม่ใช่อดทน
ไร้การเริ่มต้น ไร้การสิ้นสุด
แป้งกลายเป็นขนมปัง
เวลาเป็นเอกภาพ
แค่ทำก็พอ
ไม่ควรยึดมั่น
มาจาก ไปสู่
วิธีเฉพาะตน
เธอคือพุทธะ
เมื่อเธอเป็นเธอ
ทุกสิ่งสมบูรณ์
เธอเชื่อฉันจึงมีอยู่
ความคิดที่อัตตาครอบงำเกิดกรรม
ทุกขณะเปลี่ยนแปลง เราจึงไม่มีอยู่ถาวร
อิสระกายใจ
ความเป็นธรรมชาติ
ทุกสิ่งเป็นเพียงแสงที่ปรากฏ
ความพร้อมของจิตใจคือปัญญา
การมีอยู่มาจากความว่างเปล่า
ความหลากหลายกับเอกภาพคือสิ่งเดียวกัน
ความพยายามคือเป้าหมาย
คำสอนมีอยู่ในทุกชั่วขณะ
อยู่เหนือประสบการณ์จิตสำนึก
จิตของสากลจักรวาล
ความเกี่ยวเนื่องที่มองไม่เห็น
จิตสู่จิต (จิตของผู้เริ่มต้นสู่จิตของผู้เริ่มต้น)
จิตของผู้เริ่มต้น (จิตของผู้เริ่มต้นสู่จิตของผู้เริ่มต้น)
ท่วงท่าที่ถูกต้อง
คอยดูห่าง ๆ
คลื่นของจิตใหญ่ไร้ทวิลักษณ์
ความผิดพลาดก็คือเซ็น
ไม่มีคำถาม ไม่มีคำตอบ
เมื่อเธอเป็นเธออย่างแท้จริง
อยู่ในความว่างเปล่า
ชีวิตกับความตายเป็นสิ่งเดียวกัน
ที่นี่เดี๋ยวนี้
หาปิติในทุกข์ตัวเอง
ไม่ว่าสุขหรือทุกข์มันก็จะผ่านไป
ใจว่างเปล่า
ยึดมั่นไม่ยึดมั่นเป็นสิ่งเดียวกัน
ชีวิตเป็นศิลปะเมื่อเห็นวัชพืชมีค่า
ประสบการณ์
เหนือจิตสำนึก
ทุกคนมีหัวใจพระพุทธเจ้า
ตระหนักรู้ปัจจุบันขณะถึงความว่างเปล่า
ทุกคนมีเพชรในตนขุดมันขึ้นมา
เพียงไม่ยึดมั่นก็คือการให้
ตัวตนที่แท้ปราศจากตัวตน
นั่งเพื่อนั่ง
ตรงไปตรงมา
การรู้แจ้งมีอยู่แล้วในเรา
การยอมรับว่าทุกสิ่งไม่จีรัง
ไม่มีความว่างเปล่า ก็ไม่มีความเป็นธรรมชาติ
ศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ในจิตที่ว่างเปล่า
ทุกสิ่งที่เป็นอยู่ล้วนขึ้นกับอีกสิ่ง
ขณะที่เกิดความสงบ เราจะไม่รู้จักมัน
เชิญดื่มชาครับ
วันนี้หนาว
วาง
เสียงนกร้อง
การตระหนักรู้ในพุทธะ
ทำคือธรรม
เราคือสังคม
สัจจะเหนือพ้นถ้อยคำ(ไม่เขียนอะไร)
หยุดแสวงหา
สอนโดยไม่สอน
ทำโดยไม่ทำจิตว่าง
รอ – ปัจจุบันขณะ
ลืมตนเองทุกขณะคือซาเซน
ไม่บ่น
ไม่มีอะไรพิเศษ เลยพิเศษ
จดจ่อขณะปัจจุบัน
ไร้จุดเริ่ม ไร้จุดจบ ไร้เส้นแบ่ง
ขันติ
เงียบ ง่าย
คิดไม่รู้สึก รู้สึกไม่คิด
ทุกสิ่งเป็นเรา เข้าใจเมื่อซาเซน
ลิขิตฟ้า
หินที่หายไป
การเข้าใจคือการแสดงออกขณะเดียวกัน
ความไม่สมบูรณ์
ไม่มีอะไร
อิสระจากทุกสิ่ง ลืมทุกอย่างในใจ
ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งเดียวกัน
สุขคือเศร้า เศร้าคือสุข
วัชพืชคือสิ่งลํ้าค่า
ความพยายามที่บริสุทธิ์
ทุกท่าทางคือซาเซน
ช่องว่างระหว่างคำ
ปราศจากภูมิใจและการท้อแท้
ดวงตาไม่สามารถเห็นตัวมันเอง
โลกที่ไม่ปรากฏ
มุ่งกับสิ่งที่ทำขณะปัจจุบัน
จิตที่เมตตาไร้ขอบเขตจำกัดไร้ทวิ (ภาวะ) ลักษณ์
กายใจเป็นทั้งสองและหนึ่ง
โลกภายในโลกภายนอกโลกเดียวกัน
มีกฎบ้างจึงพบอิสระที่แท้จริง
ปล่อยให้มันเข้ามาแล้วออกไป
จดจ่อลมหายใจจนหายไป
ม้าตัวเลวสุดบางครั้งอาจวิ่งดีสุด
ทุกสิ่งควรค่าแก่การเคารพ
เห็นคุณค่าสิ่งเล็กที่สุดที่มีอยู่
จดจ่อความจริงใจ
ดินกลายเป็นถ้วยชา
จิตสงบ ชื่นบาน ไม่ตื่นเต้นสิ่งใด
บริสุทธิ์ การเป็นสิ่งที่มันเป็น
การยึดมั่นคือร่องรอยความคิด
พระเจ้ามอบให้
ไม่มีวิธีที่ดีที่สุด คุณต้องหาเอง
กิจกรรมที่ทำอยู่
ฉันไม่รู้ เพราะยังมีฉัน
ก่อนฤดูร้อนจะจบลง ฤดูใบไม้ร่วงก็มาถึง
หยุดแสวงหาสิ่งใดนอกตัวเอง
ซื่อสัตย์กับความรู้สึกตน
แค่ฟังเฉย ๆ
เธอเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล
ฝึกแล้วก็ฝึกแล้วก็ฝึกแล้วก็…
หาความสมบูรณ์ในความไม่สมบูรณ์
ถ่านไม่ได้กลายเป็นขี้เถ้า
ความเป็นธรรมชาติ
เข้าใจตัวเองก็เข้าใจทุกสิ่ง
ปัญญาเกิดจากใจที่ว่างเปล่า
พร้อมที่จะเกิดรูปและสี
สิ่งเดียวมีชื่อเรียกหลายชื่อ
เมื่อลมสงบนิ่ง ดอกไม้ร่วงหล่น
ก่อนเป็นศาสนา
มีอยู่ในทุกสิ่ง ทุกที่ ทุกขณะ
นี่คือภาพลวงตา
ในวิถีทางของตนเอง
ดูที่จิต
ระหว่างบางที่และไม่มีที่ใด
จิตเซน
สิ่งหนึ่งไหลสู่อีกสิ่ง
เรามีชีวิตอยู่เพื่อตัวเราเอง
พึ่งพาและอิสระกันและกัน
เวลา ปัจจุบันสู่อดีตและอนาคต
นํ้าและคลื่น สิ่งเดียวกัน
ขอบคุณวัชพืช
เธออยู่ตรงนี้ เดี๋ยวนี้
การคำนับช่วยขจัดตัวตน
เห็นความธรรมดาในทุกสิ่ง
ความจริงใจ ธรรมชาติเดิมแท้
เซนไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้น
เป็นท้องฟ้าที่มืดมิดและว่างเปล่า
ประสบการณ์กับความจริงโดยตรง
ความจริงมีหลายด้านเสมอ
ความเข้าใจที่แท้จริงต้องปฏิบัติ
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
มันมีอยู่แล้ว
ความเข้าใจที่แท้จริงมาจากความว่างเปล่า
ปัญญาเท่ากับจิตที่ว่างเปล่า
ก่อนเกิดรูปและสี
ชีวิตประจำวันคือซาเซน
คำสอนมีอยู่ในทุกสิ่งทุกขณะ
การเป็นพระพุทธเจ้า
ช่วยสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
สันติภายในตน
เรียบง่ายอย่างแท้จริง
การเป็นผู้เริ่มต้นอยู่เสมอ
เรามีชีวิตอยู่เพื่อตัวเราเอง
ทุกอย่างดูสวยเพราะมันขาดสมดุล
จิตที่ผนวกรวมทุกสิ่ง
วัชพืชแห่งจิตคืออาหารบำรุงจิต
การผิดพลาดต่อเนื่องก็เป็นเซน
เมื่อข้อจำกัดไม่จำกัดเธอ การปฏิบัติ
เมื่อเซนไม่ใช่เซน
เธอเข้าใจมันอยู่แล้ว
กิจวัตรปกติในชีวิตประจำวัน
จิตวิญญาณของการไม่บรรลุผล
ขี้เถ้าจะไม่กลับไปเป็นฟืน
ทานปรัชญารามิตา
การปฏิบัติโดยไม่มีความเบิกบานใจ
เป้าหมายคือไร้เป้าหมาย
ศึกษาพุทธศาสนาคือศึกษาตัวเอง
กบซาเซนไม่คิดว่ามันทำอะไรพิเศษ
ความสมํ่าเสมอ ขจัดปัญหา
การสื่อสาร แค่นิ่งเงียบ ๆ
มีอยู่แล้วในตัวเรา ไม่ต้องแสวงหา
ทุกสิ่งเป็นภาพลวงตา เมื่อไม่เข้าใจความว่าง
อัตตาคือภาพลวงตา
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
จดจ่อสภาวะที่ดำรงอยู่
เมื่อกระหายนํ้า เราจะยินดีที่ได้ดื่ม
หยุดเสียงกระซิบแห่งลำธาร
แว่นตาคือการรู้แจ้ง
เชื่อในความไม่มีอะไร การรู้แจ้ง
สงบก่อนสงบ
ประสบการณ์ตรงกับความว่างเปล่า
ความจริงที่รวบรวมความจริง
เหนือประสบการณ์ของจิตสำนึก
ในวิถีของตัวเอง
ดูจิต ไม่คิด ไม่รู้สึก
การรู้แจ้งและการปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียว
Share Published on Feb 20, 2017 at 9:58 pm.
Filled under: News
No Comments

You must be logged in to post a comment.