31st Century Museum of Contemporary Spirit (Non-Being by Itself)

Language : ENGLISH : THAI

หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29 มีนาคม – 18 พฤษภาคม 2556


 

 

สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง

สภาวะก่อนเกิดหลังตายคืออะไร? หรือว่าเราสามารถรับรู้ได้เฉพาะสภาวะหลังเกิดและก่อนตายใช่หรือไม่? ถ้าอย่างนั้นคำถามต่อมาคือ ชีวิตคืออะไร? และชีวิตควรดำรงอยู่อย่างไร? ชีวิตประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ ในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า ชีวิตประกอบไปด้วยขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ หรือความเชื่อที่ว่าชีวิตประกอบไปด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และจิตวิญญาณ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ประกอบกันขึ้นกลายเป็นชีวิต นั่นหมายความว่าชีวิตไม่มีสภาวะที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง

ในทางวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จักวาลตลอดจนสสารที่อยู่ภายในร่างกายล้วนประกอบด้วยอนุภาคของวัตถุ หมุนเวียนแปรเปลี่ยนไม่สิ้นสุด อะตอมต่างๆในร่างกายเราอาจเคยเป็นส่วนของดวงดาวที่อยู่ห่างไกลในกาล-อวกาศ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ ท้องฟ้า แม่น้ำหรือก้อนหิน ฯลฯ  ล้วนเป็นส่วนประกอบของกันและกัน ทุกสิ่งล้วนประกอบไปด้วยอะตอม ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ แต่ดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากกัน

การดำเนินชีวิตในสังคมก็เช่นเดียวกัน เราทุกคนต่างมีหน้าที่และอาชีพการงานที่แตกต่างกัน และต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน สังคมที่สมบูรณ์ก็คือการประกอบไปด้วยความหลากหลายของหน้าที่ที่ต่างกัน ดังเช่นป่าไม้ที่สมบูรณ์จะต้องมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแต่ละสิ่งจะมีหน้าที่ที่มีความสำคัญเฉพาะในแบบฉบับของตัวเอง แต่ในทางกลับกัน ทางด้านจิตใจหรือความรู้สึกนึกคิด เราทุกคนล้วนมีความคิดสร้างสรรค์และมีความเป็นปัจเจก อยู่ในตัว รวมทั้งต้องการความรัก อิสรภาพ ความสุขสงบและสันติภาพเหมือนกันทุกคน

มนุษย์เรียนรู้จากความรู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบันและส่งผ่านไปสู่อนาคต จากประสบการณ์ในการค้นพบของบุคคลอื่น ทั้งจากการกระทำที่สร้างสรรค์หรือทำลาย จากการทดลองที่ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว รวมทั้งสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยธรรมชาติทั้งผู้ให้และผู้รับจะมีเจตนาหรือไม่รู้ตัวก็ตาม สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผ่านแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และกลายเป็นเหตุปัจจัยต่อกันและกันตลอดเวลา เราอาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้วส่งผลต่อการดำเนินชีวิต โดยที่เราไม่รู้ตัวและไม่จำเป็นต้องพบเห็นหรือรู้จักกันมาก่อนก็เป็นได้ ขณะเดียวกันวิถีการดำเนินชีวิตของเราก็อาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับบุคคลอื่นโดยที่เราไม่รู้ ก็อาจเป็นได้เช่นเดียวกัน

นิทรรศการนี้ ประกอบไปด้วยภาพยนตร์สั้นหลายเรื่อง ซึ่งข้าพเจ้าได้เชิญนักวัฒนธรรม-ศิลปินรุ่นใหม่รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และมีความสามารถในถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการทำภาพยนตร์สั้น ความยาวไม่เกิน ๑๐ นาที โดยไม่จำกัดเทคนิคในการถ่ายทำ  เช่น โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล หรือกล้องวีดีโอ ฯลฯ แต่ละท่านสามารถเลือกบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตของเขา เพื่อเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดเรื่องราวและวิถีชีวิต นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมทุกคนยังช่วยกันทำบทวีดีทัศน์สัมภาษณ์ประชาชนทั่วไป ต่างสาขาอาชีพเกี่ยวกับบุคคลและเหตุผลที่เป็นแรงบันดาลใจของเขาเหล่านั้น

เรื่องราวของคนธรรมดาเหล่านี้ อาจทำให้เราได้รับแง่คิดหรือมุมมองใหม่ต่อคุณค่าบางอย่างที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของวิถีการดำเนินชีวิต สิ่งเหล่าก็อาจจะมีอยู่แล้วในวิถีชีวิตของเรา แต่เป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามไป เมื่อเราเข้าใจถึงสภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง ก็อาจทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตที่มีอยู่ในตัวเอง เช่นเดียวกับผู้อื่น รวมทั้งเชื่อมั่นว่าเราก็อาจจะเป็นแรงบันดาลใจและสามารถส่งผ่านพลังงานเชิงสร้างสรรค์ที่เกิดจากประสบการณ์ ความรู้ ความรัก ความเมตตาและสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม โดยเริ่มต้นจากการรับผิดชอบต่อหน้าที่และวิถีชีวิตของเราอย่างดีที่สุด กิจกรรมเล็กๆเหล่านี้ของเราทุกคนจะกลายมาเป็นพลังเกื้อหนุนในการขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน

การที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เราทุกคนต้องเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองก่อน หรือจะกล่าวในทางตรงกันข้ามได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเพียงแค่ตระหนักรู้ เพราะความบริสุทธ์ ความรัก ความเมตตาและความปรารถนาดีต่อบุคคลอื่น โดยในที่นี้ผมขอเรียกมันว่า “คุณค่าพื้นฐาน” สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคนตามธรรมชาติตั้งแต่เกิด เราสามารถศึกษาได้จากการที่มนุษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองตามช่วงชีวิตในวัยต่างๆ เช่นวัยเด็กที่มีความบริสุทธ์ วัยเจริญพันธุ์ที่เริ่มมีความรักจนมาถึงวัยที่เป็นพ่อแม่คน ในวัยนี้เองสำนึกในการส่งผ่านประสบการณ์ความรัก ความเมตตาให้กับผู้อื่น(ลูก)ก็เริ่มเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ผมมีความเชื่อว่ากิจกรรมนี้ (สภาวะไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง) จะเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเตือนให้เราเข้าใจในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่แล้วในเราทุกคน หากแต่หลบซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึก และสิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏออกมาในความประทับใจหรือความรู้สึกชื่นชม ต่อเมื่อเราพบเห็นมันอีกครั้งหนึ่งในวิถีชีวิตของใครบางคน และโดยเปลี่ยนแปลงความเข้าใจความตะหนักรู้ที่เกิดจากข้อมูลให้กลายมาเป็นประสบการณ์เชิงประจักษ์ผ่านการกระทำ จะทำให้คุณค่าพื้นฐานที่เคยหลบซ่อนอยู่ในจิตใจ ปรากฏออกมาทางพฤติกรรมได้จริง

ชีวิตและสิ่งต่างๆล้วนมีความว่างเป็นแก่นสาร เพราะเหตุนี้มันจึงเปลี่ยนแปลงสภาวะอยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งล้วนอิงอาศัยและสัมพันธ์ต่อกันและเป็นสภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง

 

คามิน เลิศชัยประเสริฐ
๑๑ กันยายน ๒๕๕๕

Artist talk “คามิน เลิศชัยประเสริฐ” @The Art Center, Chulalongkorn University 1
Artist talk “คามิน เลิศชัยประเสริฐ” @The Art Center, Chulalongkorn University 2
Artist talk “คามิน เลิศชัยประเสริฐ” @The Art Center, Chulalongkorn University 3
Artist talk “คามิน เลิศชัยประเสริฐ” @The Art Center, Chulalongkorn University 4

 

หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมแสดงงานนิทรรศการ ด้วยการเข้าร่วมผลิตหนังสั้นในหัวข้อ “บุคคลที่เราประทับใจหรือบุคคลที่ให้แรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการศิลปะ “สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง” (Non-Being By Itself) โดยศิลปินที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการนี้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทัศนคติการที่ได้รับแรงบันดาลใจ และความประทับใจจากบุคคลที่มีต่อท่าน (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม) ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานหนังสั้น ซึ่งทั้งนี้ผลงานดังกล่าวจะนำมาร่วมแสดงกับผลงานของอาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ และเดินทางไปแสดงต่อที่อื่นๆ

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและรับฟังข้อมูลรายละเอียดจากอาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2556 เวลา 13:30 – 15:30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการส่งจดหมายประสงค์ร่วมกิจกรรมผ่านอีเมล์ info.artcenterchula@gmail.com

การจัดกิจกรรมเป็นความร่วมมือกันระหว่างหอศิลปวิทยนิทรรศน์ และอาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 31st Century Museum of Contemporary Spirit

 

Non-being by itself: We are all the same

เราทุกคนเหมือนกัน
คามิน เลิศชัยประเสริฐ
ความยาว: 10 นาที
 

เราทุกคนมีความสร้างสรรค์
เราทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เราทุกคนมีความรักในสันติภาพ

 

 

 

พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยศตวรรษที่ 31: สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง

หอศิลปวิทยานิทรรศน์ ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยินดีนำเสนอนิทรรศการแสดงเดี่ยว ของอ.คามิน เลิศชัยประเสริฐ ผู้ซึ่งเป็นศิลปินลั้ายุคที่มีสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ให้กับวงการศิลปะไทยมาอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จอันมากมายนี้ รวมถึงการแสดงเดี่ยว เช่น Beyond ที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี่ กรุงเทพ (2551), Inner/ Outer Gaze ที่ Gallery Art U เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น (2545) และนิทรรศการกลุ่ม เช่น Busan Biennale (2551), The World in Painting ที Heide Museum of Modern Art ประเทศออสเตรเลีย (2551), 50thVeice Biennale, Utopia Station ที่ประเทศอิตาลี (2546) และ Biennale of Sydney (2536,2555) ในเวลาเดียวกัน อ.คามินยังได้ทำงานอื่นที่เป็นการส่งเสริมวงการศิลปะคู่ขนานไปกับการทำงานส่วนตัวด้วย โดยนับตั้งแต่ปี 2541 อ.คามินได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิศิลปะทดลองที่สนับสนุนศิลปะในรูปของชุมชน เรียกว่า มูลนิธิที่นา (The Land) ที่จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับศิลปินไทยที่โด่งดังที่สุดในระดับนานาชาติ คือ คุณฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช

อ.คามิน เลิศชัยประเสริฐ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2530 ต่อมาได้ย้ายไปพำนักในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เดินทางกลับมาเมืองไทยในปี 2536 ปริญญาในด้านภาพพิมพ์บวกกับประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดนได้ปรุงรสชาติการทำงานศิลปะของอ.คามิน ด้วยการหล่อหลอมขนบ และวิถีทางการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จากทั้งงานภาพเขียน ไปสู่ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย จิตรกรรม และประติมากรรม ผลงานของอ.คามิน คือการสอบสวนความเป็นปรัชญาเชิงพุทธศาสนา การทำวิปัสสนา และวินัยในการดำรงชีวิต

ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจากอ.คามินในการมาจัดแสดงนิทรรศการที่หอศิลป์ในครั้งนี้ ซึ่งมีผลงานสื่อจัดวางวีดิทัศน์ (Video Installation) ครั้งแรกของ อ.คามินรวมอยู่ด้วย แกนหลักของนิทรรศการครั้งนี้อาจจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสืบสานโครงการศิลปะในชุมชนของมูลนิธิที่นา การทำงานเชิงศิลปะร่วมกับบุคคลที่หลากหลายสามารถที่จะอุปมานไปถึงความจำเป็นในการพัฒนาความเข้าใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้ความหลากหลายของสังคม ซึ่งรวมตัวเราเองเข้าไปด้วย ผมเชื่อว่า อ.คามินจะเดินหน้าบุกเบิกพรมแดนใหม่ ๆ ทางการสร้างงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง และหอศิลป์ก็มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการครั้งนี้

ดร. ประพล คำจิ่ม
หัวหน้า หอศิลปวิทยานิทรรศน์

 

พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยศตวรรษที่ 31: สภาวะที่ไร้ซึ่งการดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง

คามิน เลิศชัยประเสริฐ

ขอขอบคุณ
ทุกท่านในที่นี้ที่มีส่วนร่วม ทำให้นิทรรศการณ์นี้บรรลุความสำเร็จด้วยดี
หอศิลปวิทยานิทรรศน์, สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นำทองแกเลอรี่
อาจารย์ ดร. ประพล คำจิ๋ม (หัวหน้าหอศิลป์)
นำทอง แซ่ตั้ง
ทิพวรรณ แซ่ตั้ง
สืบแสง แสงวชิระภิบาล (ผู้จัดการหอศิลป์)
สิริวัฒน์ โพธิ์กระเจน (ประชาสัมพันธ์)
พัฒนา เฉลิมธนศักดิ์ (เจ้าหน้าที่)
ลัทธพล ก่อเกียรติตระกูล (เจ้าหน้าที่)
รัตนา โฉมจันทร์ (เจ้าหน้าที่ธุรการ)
ชล เจนประภาพันธ์ (สิ่งพิมพ์)
ปณิธิตา เกียรติสุวิมล (สิ่งพิมพ์)
ประพนศักดิ์ ละออ (ผู้ช่วยศิลปิน)
กฤชนันท์ ศรีระกิจ (ผู้ช่วยศิลปิน)
อานนท์ นงค์เยาว์ (ผู้ช่วยศิลปิน)

 

บทนำ
อาจารย์ ดร. ประพล คำจิ๋ม

 

แปลภาษาอังกฤษ
ชลธิชา สุจริตพินิจ

 

ผู้ช่วยศิลปินด้านงานประติมากรรม
จักรชัย ประวัติเมือง
ปิยะพงศ์ มาตพล
ธีระพงษ์ น้อยบุญทา

 

ผู้ช่วยศิลปินด้านงานภาพยนตร์
อานนท์ นงค์เยาว์

 

ภาพถ่าย
สืบแสง แสงวชิระภิบาล
คามิน เลิศชัยประเสริฐ

 

ออกแบบสูจิบัตรและสิ่งพิมพ์
วันเอก จันทรทิพย์

 

ศิลปินรับเชิญ (ศิลปะด้านเสียง)
Ming Ching Chen

 

ศิลปินรับเชิญ (ออกแบบผลิตภัณฑ์)
อุดม อุดมศรีอนันต์

 

ศิลปินและนักวัฒนธรรมรับเชิญ (หนังสั้น)
เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ เเละครอบครัวโคตรภูเวียง
ณัฐพล วรรณาภรณ์
จิณณ์ เรื่องเกรียงสิน
ธนวัต พัธนะประสาท
ณัฐดนัย ชุติปภากร
นรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์
สมพงษ์ ลีระศิริ
อภิภา นรภูมิพิภัชน์
วรรษมน ไตรยศักดา
ธันยธรณ์ ตั้งทรงเจริญ
เชอรี่ พงศ์ประจักษ์กุล
ธนกฤษณ์ ศรีสุวรรณ
พนิดา อ่อนสำอางค์
สรวิศ วิภากุล
ปรเวศ ไพศาลเจริญวงศ์
อานันท์ สิกขมาน
วิศิษฎ์ธร อนันต์สุขหิรัญ
ปริวุฒิ เปี่ยมการุญวงษ์
จักรพันธ์ ธนธีรานนท์
ธนภณ อินทร์ทอง
สัณธณัฐ กะเหว่านาค
นฤมล หาญสกุล
เอมวิภา ฐาปนากรวุฒิ
วัชรภัทร คงขาว
อัยนา ภูทุทธานนท์
จิตต์ปภัสสร์ บัตรประโคน
อานนท์ นงค์เยาว์
สามารถ สุวรรณรัตน์
ธีรมล บัวงาม

 

ผู้ให้สัมภาษณ์
อ.บฤงคพ วรอุไร
สุชาดา มูนดง
เจริญ และ อรวรรณ โพธิ์ละอองน้ำ
นิตยา แสนทวีสุข
จิรศักดิ์ แสงมนต์สิทธิ์
ปัณณิตา ชมภูทิพย์
พระประฐม ปิยะวรรณโณ
สมพร ธราวุฒิ
ชลธิชา สุจริตพินิจ
Noku Amenomori
Damien Pitw
Francine Meoule
Jia Gottlibe
Lyse Kong
Marcel Daudin
Michelle Anderson Binczak
Peter (Austria)
Reef (Singapore)
Zoncy (Myanmar)

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณพ่อแม่และครอบครัว ลูกเมีย ญาติพี่น้องและเพื่อนสนิทมิตรสหายทุกท่านที่เป็นทั้งแรงบันดาลใจและกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเสมอมาและในการดำเนินชีวิต

 

©31century.org | Web Site Represented