พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่21 เมืองคานาซาวา ประเทศญี่ปุ่น

Language : ENGLISH日本語 : THAI :


Spirit2

เกริ่นนำ

ผมเชื่อว่าศิลปะคือการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ เช่นเดียวกับงานศิลปะที่ดี มักจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเราสามารถค้นพบลักษณะพิเศษนี้ในตัวเราทุกคน ทั้งในใบหน้า ดวงตา จมูก ปาก ลายนิ้วมือ หรือแม้กระทั้งในรหัสพันธุ์กรรมของเราเอง เราแต่ละคนมีเหมือนกันและในความเหมือนก็มีความแตกต่างกันไป แม้กระทั้งฝาแฝด ในความคล้ายคลึงก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างในตัวเอง อาจกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของการเป็นมนุษย์นั้น คือตัวอย่างของงานศิลปะชั้นเลิศเลยทีเดียว

เสรีภาพในการแสดงออกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความพิเศษในงานศิลปะ เราทุกคนเคยมีความพิเศษชนิดนี้อยู่ในตัวเมื่อยังเป็นเด็ก เราไม่จำเป็นต้องสำแดงความฉลาดเพื่อปิดบังความโงเขล่า เราปราศจากความกลัว ความกังวล ความโหยหิว ความสำนึกผิด ความอับอาย และความตาย โชคไม่ดีนักที่การศึกษาและสภาพสังคมที่เราอยู่ได้พรากความอิสระเหล่านั้นไป ทั้งค่านิยม, ศีลธรรม, ความเชื่อ และวัฒนธรรม ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าใดสิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้เสรีภาพในการแสดงออกของเราน้อยลง

การที่จะนำความคิดสร้างสรรค์และเสรีภาพในการแสดงออกของการเป็นมนุษย์กลับคืนมา คือจุดประสงค์ที่ผมปรารถนา ทำอย่างไรเราจึงทวงคืนความมั่นใจในอิสระแห่งการสร้างสรรค์ที่เราเคยมีกลับมา เพื่อที่จะอยู่ร่วมและเคารพความแตกต่างของกัน ผมเชื่อมั่นว่าในตัวเราทุกคน มีวิธีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์เฉพาะตน ซึ่งดำรงอยู่ในจิตใต้สำนึกที่ดำเนินอยู่ทุกขณะในชีวิตประจำวันของเรา เพราะฉะนั้นเราทุกคนมีความเป็นศิลปินที่เป็นส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมแห่งอนาคตด้วยกัน

แนวคิด

เราไม่ได้ประสงค์ที่จะทำลายความตั้งมั่นของพิพิธภัณฑ์แต่อย่าใด  หากแต่ตัวพิพิธภัณฑ์เองที่กำหนดขอบเขตและแบ่งแยกว่าสิ่งใดคู่ควรที่จะเป็นศิลปะหรือสิ่งใดไม่ใช่ พิพิธภัณฑ์อาจกลายเป็นมาตรฐานบงชี้วัฒนธรรมต่อสังคม แต่ทว่าไม่อาจชี้วัดในความเฉพาะของแต่ละหน่วยได้ สำหรับพิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่31 คือโครงการที่มุ่งหวังให้ผู้คนกลับมามีเสรีภาพในการแสดงออก ปลุกจิตสำนึกความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งที่ซ้อนอยู่ภายในให้ออกมาโลดแล่นสร้างสรรค์ เรียกคืนพลังในการประเมินค่าของตัวตนที่แสดงงออกมาอย่างไม่ต้องยึดติดกับวัฒนธรรมกระแสหลัก หรือคุณค่าของสุนทรียศาสตร์ ทุกคนเป็นศิลปินเป็นภัณฑารักษ์และเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ร่วมกัน

SNAG-0006

galleryด้วยเหตุที่ในตัวคนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะในตัวเอง และแต่ละคนต่างมีวิธีการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในแบบของตัวเองอยู่ทุกๆวัน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จากจุดนี้ ได้กระตุ้นให้ผมนึกถึงกระบวนการสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เรื่องราวที่ให้ความหมายเฉพาะต่อสิ่งของของผู้ให้และผู้รับ ผมเชื่อว่าสิ่งของของพวกเขาบางชิ้นมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์เฉพาะที่บรรจุจิตวิญญาณและพลังงานแห่งการสร้างสรรค์เอาไว้ ซึ้งไม่อาจประเมินราคาได้ ไม่สำคัญว่าของชิ้นนั้นจะทำมาจากวัสดุราคาแพงหรือไม่ มันอาจเป็นสิ่งของที่เรียบง่ายธรรมดาสำหรับคนอื่น แต่มีความหมายทางจิตใจอย่างมากมายสำหรับบางคน ตัวอย่างเช่น ของขวัญ คำอวยพร โปสการ์ด แหวน ดอกไม้ หรือแม้แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆที่ได้รับจากคนที่เรารัก บางครั้งอาจจะได้รับจากคนที่ไม่รู้จักกันเลย หรือเป็นใครบางคนที่ให้สิ่งนั้นด้วยความปรารถนาดี ด้วยความรัก ความห่วงใย ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ให้เพื่อเป็นกำลังใจ หรือด้วยเหตุผลใดๆก็ตามแต่ มันสามารถเป็นพลังงานกระแสสั่นสะเทือนส่งออกมาจากของสิ่งนั้น ผมเชื่อว่าเราทุกคนมีสิ่งของประเภทนี้อยู่หรืออย่างน้อยก็เคยได้สัมผัสมัน แต่เรามักจะลืมมันไปหรือแอบซ่อนไว้อยู่คนเดียวและอาจมีบางครั้งที่เราก็หลงลืมมันไป สำหรับโครงการนี้ผมจึงได้เชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันแบ่งปันความหมายและประสบการณ์กับผู้อื่น

 

ที่มา พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31

มิถุนายน ปี2552

1พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่21 เมืองคานาซาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้เชิญผมให้เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “กระตุ้นเมืองด้วยศิลปะ”ซึ่งเป็นหัวข้อที่ท้าทายมากสำหรับผมนอกเหนือจากการสัมมนาผมได้มีโอกาสท่องเที่ยวในเมืองคานาซาวาเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อหาสถานที่ในการทำงานและจัดแสดงในเดือนตุลาคมไปพร้อมกัน

2

หนึ่งในสถานที่ที่ผมได้ไปมาคือ ‘โรงเรียนประถมชูโอะ’ คุณครูใหญ่ประจำโรงเรียนได้พาผมเยี่ยมชมภายในโรงเรียนหลังจากนั้นท่านก็ได้พาผมไปที่ห้องทำงานของท่านและผมก็ได้เห็นการเขียนตัวอักษรที่งดงามบนกระดาษ ซึ่งผมไม่ทราบว่าคืออะไรผมจึงถามท่านว่ามันคืออะไร คุณครูใหญ่บอกกับผมว่าสิ่งเหล่านี้คือประกาศนียบัตรท่านจะมอบให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในปีนี้

ผมประหลาดใจมาก คุณครูให้ผมดูลายอักษรที่ท่านเขียนเป็นประกาศนียบัตรให้นักเรียนแต่ละคนซึ่งท่านจะเขียนถึงความดีหนึ่งอย่างของนักเรียนคนนั้นๆ ลงไป อย่างเช่นว่า ‘คุณเป็นคนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีมาก’, ‘คุณเป็นนักว่ายน้ำที่เก่งมาก’, ‘คุณเป็นคนที่มีน้ำใจ’ เป็นต้น ด้วยความประหลาดใจ ผมเกิดคำถามมากมายในใจ ท่านรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อดีที่แท้จริงในตัว? แล้วอย่างนี้ท่านทั้งหลายไม่คิดที่จะถามครูใหญ่ด้วยคำถามนี้หรือไร? อาจจะไม่? ทำไมต้องเป็นฉัน?

3 4


ก่อนอื่นผมมีเรื่องเกี่ยวกับตัวผมเองจะบอกเล่าเล็กน้อย สมัยที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียน ผมถูกส่งให้เรียนในโรงเรียนประจำ ตอนนั้นผมอยู่ประถม5 พ่อแม่เชื่อว่าโรงเรียนจะดัดนิสัยผมให้ดีขึ้นได้ คงเดาได้ไม่ยากว่าผมเคยเป็นเด็กแบบไหน แม้ว่าพ่อแม่ผมจะยอมแพ้และคิดว่าโรงเรียนประจำนั้นจะเป็นคำตอบ ผมไม่รู้ว่ามันช่วยให้ดีขึ้นไหม แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจำได้ในวันเด็กปีหนึ่งชื่อของผมถูกประกาศขึ้นรับรางวัล ผมควรจะดีใจใช่ไหม แน่นอนผมดีใจมาก ผมทำเหมือนว่ามันเท่เหลือเกิน ผมรู้สึกภูมิใจสุดๆ คงสงสัยว่าผมได้รางวัลแบบไหนกัน ผมได้รับรางวัลเด็กยอดแย่ประจำโรงเรียน
ใช่แล้วแย่ที่สุดที่ผมเคยเป็น(หรือยังคงเป็นอยู่) ของรางวัลสำหรับตำแหน่งนี้คือสมุดบันทึกและปากกาที่จะเอาไว้ค่อยจดบันทึกวีรกรรมยอดแย่ต่างๆ ที่ผมได้ทำเพื่อย้ำเตื่อนไม่ให้ตัวผมเองทำผิดซ้ำอีก

จนกระทั่งเป็นวัยรุ่น ผมทำให้เพื่อนเชื่อว่านั้นเป็นสิ่งที่เท่ที่สุดที่ผมเคยได้รับ
ใครจะไปสนใจ แต่ลึกๆ แล้วมันเจ็บปวด มันเป็นแผลบาดลึกในใจสำหรับเด็กชายคนหนึ่ง
ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นเด็กยอดแย่ประจำโรงเรียน

5นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงได้อยากถามคำถามเหล่านั้นกับคุณครูใหญ่ ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละคนมีข้อดีอะไร ในขณะที่ผมยังคงเจ็บปวดกับการได้รับรางวัลเด็กยอดแย่ ผมถามคุณครูใหญ่ว่า แล้วถ้าหากมีเด็กที่แย่ที่สุดในโรงเรียนละ ท่านจะเขียนถึงเด็กคนนั้นว่าอย่างไร คุณครูใหญ่ตอบผมว่า “ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะแย่มากสักแค่ไหน อย่างน้อยเขาก็ต้องมีข้อดีในตัวอยู่สักข้อ ท่านเชื่อเช่นนั้น” อย่างไรก็ตามนั่นเป็นข้อคิดเรียบง่ายที่ทอประกายแสงสว่างให้กับเด็กชายคนนั้น เด็กชายที่คอยตามหลอกหลอนผมมาตลอด

I asked the headmaster to write that boy one certification which is ‘everyone at least has one good thing in oneself’.
This kind of certification might be nothing for the one who has been recognized as a good people for the rest of his/her life, but for the one like me this is irreplaceable. It is unique with its meaning, lift my spirit up, inspired me to share and to stimulate people to go back into their own experience in order to look for something in their lives, some ordinary object with a certain meaning for his/her no matter it sounds stupid, nonsense, priceless or crazy for other people.

7ผมจึงขอให้คุณครูใหญ่เขียนประกาศนียบัตรให้กับเด็กชายคนนั้น ซึ้งท่านเขียนไว้ว่า ‘ทุกๆคนล้วนมีความดีอยู่ในตัวอย่างน้อยที่สุดหนึ่งข้อในตัวเอง’

ประกาศนียบัตรนี้อาจไม่มีความหมายสำหรับคนที่ถูกจดจำด้วยความดีงามในชีวิต แต่สำหรับคนบางคนอย่างตัวผมนั้นไม่มีอะไรมาแทนค่าได้เลย มันมีความหมายเฉพาะในตัวที่เป็นกำลังใจยกระดับจิตวิญญาณ
ให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่แบ่งปันกระตุ้นผู้คนให้หันกลับไปสู่ประสบการณ์ของตัวเองเพื่อสำรวจและมองหาบางอย่างในชีวิต สิ่งของธรรมดาที่มีความหมายอย่างแท้จริงสำหรับพวกเขา แม้ว่ามันจะฟังดูโง่เง่า ไร้สาระ
ด้อยค่าเพียงใด หรือดูบ้าบอสำหรับคนอื่นก็ตาม

นี้คือสิ่งที่ชักนำไปสู่ พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่31 ที่จะได้รวบรวมสิ่งของล้ำค่าทางจิตใจสำหรับใครคนหนึ่งที่ได้รับมาแบ่งปันความรู้สึกร่วมกัน

6 89

Methodology

SNAG-00071. Asking for collaboration from local people from Kanazawa to donate or to lend objects meaningful to their spirit.

2. Asking them to provide reason and source of origin why it is meaningful to them.

3. Exhibiting collected objects in vacant houses or vacant buildings.

4. Exhibiting in the participants’ private space like home or apartment and visitors shall ask for permission prior to their visit, in case the participants consider the objects very valuable and very meaningful to them and they do not wish to exhibit in public space (area no. 3).

5. Asking for permission to publicize the photo of objects, portraits of the owner and related articles together with those of others’ in the project, in case the objects can neither be exhibited in public space (area no. 3)  nor private space (area no. 4).

6. Inviting everyone involved to be in a group’s picture. They will circle around the 21st Century Museum of Contemporary Art, in English alphabets, read as ‘31st Century Museum of Contemporary Spirit’. As collective memory, bird-eye-view photos will be taken.

7. A bird-eye-view photo shall be enlarged. Then all people involved shall sign their signature as collaborative artists. Eventually, this picture shall be printed as a cover for the project catalog.

Project

more .. 31-century-museum-in-kanazawa

Kamin Lertchaiprasert / 31st Century Museum of Contemporary Spirit

Yuki Akimoto

Director / 21st Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa

Based in Chiang Mai in northern Thailand, Kamin Lertchaiprasert is known as an artist who mostly makes participation- and process-oriented works. “the land” is a long  term project that he co-started with Rirkrit Tiravanija to “create a place open to the public in the independent community.” Though he does not define it as his artistic activity, it is a kind of lifework and very important for him.  Based on Buddhism thought and in pursuit of experimental contemplation and lifestyles, he holds courses of meditation and yoga in addition to carrying out organic farming, architecture, art exhibitions and lectures. Kamin Lertchaiprasert and Rirkrit Tiravanija are totally different in their work styles, but they share the same objective to support the project of “the land.” He has finally reached such a way of thinking while pursuing how sustainable lifestyle or life could be.

A Western journalist said half in anger when he saw a fallen house and poor maintenance in “the land” to the effect that the project plan had fallen through, Kamin responded that if someone wanted to build it, it could be rebuilt. He is not concerned about maintaining what was once made, or giving mythical significance to a project-in-itself. Rather “the land” has the meaning of its existence in showing what he is not interested at all in what he considers meaningless. He does not have either concept of reward or compensation either. Because all is done on one’s own initiative, if one does not see any value, nothing will be done. Having said that I’m afraid you might think it is a closed circle like a new religion. On the contrary, it is connected to another society without denying consumer society and capitalism, or it frequently goes back and forth to both worlds. It is difficult to say definitely which is the superordinate concept, but I’m sure that there is a worldview of de-capitalism rooted in “the land” as a base.

As for the project in Kanazawa, he does not work an expressionist himself in it, but he asks the meaning of art through collaborations of many participants. For the project, each participant brings their treasures or unforgettable objects to display them at a place likened to an art museum on the 4th floor of NTT Korinbo Building in Hirosaka Shopping area. This is the project that the building is turned to practical use. Kamin thought of this idea when he met with a certain person in Kanazawa. Kamin arranged human letters forming “31st Century Museum of Contemporary Spirit” in the open space in 21st Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa. This event has its origin when Kamin talked with the principal of an elementary school in the city, which he stopped by during his stay in Kanazawa. As it was the graduation time of the year, the principal was writing words in handwriting on large square cards for every child graduating from the school. When Kamin asked the principal what he was writing for them, he said that he was referring to each child’s good point so that he/she could remember that. When Kamin asked him a more searching question, “What would you do if a child is no good at all?”, the principal responded, “There is no need to worry. Every child has good points.” Then Kamin said, “Please write for me too. I was a bad child though.” The principal gave him a card written in his own handwriting. Then Kamin came up with the idea of “31st Century Museum of Contemporary Spirit.” To the request of “Please bring your unforgettable objects with notes about the episodes,” more than 200 unforgettable objects were brought in from the city. They are all personal things that are considered worth keeping only in the relationship between a person who presented it and a person who received it. Apart from that, there is no objective value. Kamin has presented them as what should be valued in the 31st century. The idea appears to be an imaginary fabrication, but taking into consideration of the change in human relations and speedy changing process of families and communities in today’s society, I don’t think that altogether unrealistic. What messages will more than 200 unforgettable objects be sent to us?

31st Century Museum of Contemporary Spirit

Kamin Lertchaiprasert

[PROJECT]

Director:

Yuji Akimoto

Curator:

Hiromi Kurosawa

Management Staff:

Takeshi Hirota, Toshiaki Kobayashi, Masayuki Aoyama, Hiroko Tsukamoto, Shino Sato, Misato Sawai, Yukie Ishimura

Project Staff:

Keitetsu Somchay Murai, Nobuhiro Sombat Kuzuya, Emiko Monden, Yuki Murakami

Promotion Staff:

Hiroaki Ochiai, Yuko Kuroda, Aya Okada

Support Staff:

Hideaki Watanabe, Takuya Matsumoto, Mayumi Arashi, Yuiko Kurosaki

Documentary Staff:

Mina Demura, Takahiro Niimi, Yuki Koike, Yuta Imamura, Yutaka Saito, Emiko Monden, Makiko Minamoto

Video Editor:

Taiki Michinishi

Support:

Royal Thai Embassy

Exhibition Space:

4th floor, NTT Korinbo Building

Exhibition Period:

October 4 – December 7, 2008

[CATALOGUE]

Text Writers:

Kamin Lertchaiprasert, Yuji Akimoto

Editorial Staff:

Hiromi Kurosawa, Yumiko Tatematsu, Ayumi Iwamoto

Editorial Assistants:

Yuki Murakami, Nobuhiro Sombat Kuzuya

Translators:

Miki Nishizawa, Maki Hashizume, Yumiko Tatematsu, Chiaki Sakaguchi, Kiri Takahashi, Chiho Shimizu, Sakiko Nishihara, Chisato Yamashita

Designer:

Takae Ooka (ricebowldesign)

Printing Company:

Noto Printing Co., Ltd.

Published by 21st Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa

Published on October 3, 2008

ACKNOWLEDGEMENT

We would like to express our deepest gratitude to the following organizations

and individuals for their warmest support in making this project possible.

21 st Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa

the land foundation

Art-U room

Ikemitsu Enterprises Co., Ltd.

Toranomojutakuhanbai Co., Ltd.

Hirosaka-shinkoukai

Katamachi-shotengai-shinko-kumiai

Korinbo-shotengai-shinko-kumiai

Tatemachi-shotengai-shinko-kumiai

Sasiwimon Wongjarin (Aom)

Surachet Kusumolnan (Dew)

Duangporn Injan (Aof)

Tomoko Abe

Kazuko Uzawa

Mieko Umeda

Ayano Ooka

Kiyotaka Okuda

Megumi Karube

Satoshi Kitamura

Sumigo Takagi

Nobuyoshi Takagi

Yukiko Nishina

Nobuyuki Nomura

Tomoko Hayashi

Yasuyo Maduka

Kazuko Matsumoto

Kazuya Yamaguchi

Aiko Yamamoto

Takami Yamamoto

Hiroshi Yoshida

Satomi Watanabe

©31century.org | Web Site Represented