พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ ๓๑ ที่กรุงเทพมหานครฯ(สยามเมืองยิ้ม)
วิทยาลัยเพาะช่าง 6 ตุลาคม 2561 – 15 พฤศจิกายน 2561
พิธีเปิดงานวันที่ 6 ตุลาคม 2561 เวลา 17.00 น.
จิตที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตาปราศจากความกลัวเป็นจุดกำเนิดของอิสรภาพและการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์สังคมแห่งความสุขคือการสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม จุดเริ่มต้นอยู่ที่การใส่ใจในความสัมพันธ์ภายในจิตใจของตนเองที่มีต่อเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นทุกขณะ ความรู้สึกประทับใจในเรื่องราวดีๆที่มีพลังงานบริสุทธ์ (Ready-made culture) สัจจะที่อยู่เหนือพ้นจิตสำนึก เราสามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจเปลี่ยนแปลงให้เป็นประสพการณ์ตรงโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จักตนเองที่แท้จริงคือการทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่ภายในตนเองและนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ปรากฎออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อให้สังคมได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันแล้วกลับมามีรอยยิ้มอีกครั้งเพราะเราคือสังคม
แนวความคิด
กรุงเทพมหานครฯเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจและทางวัตถุอย่างมากซึ่งไม่แตกต่างอะไรกับ เมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วโลกเช่น โตเกียว ปารีส
นิวยอกร์ ฯลฯ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกทำให้ ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุนชนเมืองสภาพแวดล้อมที่เคยประกอบไปด้วยธรรมชาติลดน้อยลงและการดำรงชีวิตที่พึ่ง พิงผลผลิตจากธรรมชาติโดยตรงได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการพึ่งพิงจากเศษฐกิจและอุสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้มนุษย์ ในสังคมปัจจุบัน จึงมุ่งแต่แสวงหาความสุขสบายที่เกิดจากวัตถุโดยการสะสมเงินทองทรัพย์สมบัติและให้คุณค่าทางวัตถุ มากกว่าคุณค่าของความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจ จนเกิดเป็นค่านิยมใหม่ของสังคมสมัยใหม่ที่มักจะประเมิณคุณค่าหรือตัดสิน ปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับที่เป็นมูลค่าของการตอบแทนทางวัตถุมากกว่าการคำนึงถึงคุณค่า ทางด้านจิตใจ, ด้านศีลธรรม, ด้านศิลปวัฒนธรรมรวมถึงระบบนิเวศทางธรรมชาติ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมเราต้องพึ่งพา อาศัยกันและกัน ไม่มีสิ่งใดสามารถแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์คือความหมายของการดำรงอยู่ ความขัดแย้งต่างๆ ของเราเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ในทุกระดับของการดำรงอยู่ เพราะการที่เราไม่เข้าใจในควาสัมพันธ์อย่างถ่องแท้ ฉนั้นการเริ่มต้นที่จะรู้จักตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งต่างๆ การใส่ใจในความรู้สึกนึกคิดภายในแต่ละขณะที่มันเกิดขึ้นในความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ในสังคมไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องราวเป็นข่าวใหญ่โตหรือเหตุการณ์เล็กๆ ที่ไม่มีใครรับรู้ก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติของเราต่อความสัมพันธ์กับ สังคมโดยตรง มันจึงมีความสำคัญอย่างมากในการที่เราจะเลือกรับรู้และทำความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง ความดีงามก่อนที่จะส่งต่อผู้อื่น โครงการนี้เราตั้งใจจะรวบรวมเรื่องราวข่าวสารข้อมูลที่มีพลังงานบวก (Ready-made culture) ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อนำมาเสนอต่อสังคมอีกครั้ง โดยผ่านกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบการวิเคราะห์ แยกแยะสำรวจตรวจสอบเหตุปัจจัยร่วมกันโดยแนวทางวิธีการสื่อสารและการสร้างสรรค์ผลงานศิลปร่วมสมัยที่มีรูปแบบ ที่หลากหลายในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในโครงการได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ ระหว่างจุดกำเนินของความสัมพันธ์ ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นแรงบันดาลใจ นำมาพัฒนาให้กลายมาเป็นประสบการณ์ตรงโดยผ่านขั้นตอนของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จนถึงขั้นตอนการนำเสนอออกสู่สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม
ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่า “สยามเมืองยิ้ม” นั้นมีนัยยะที่สำคัญและบ่งบอกให้เราเห็นและเข้าใจถึงพื้นฐานของคุณค่า ที่มีอยู่ในวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยในอดีต ถึงแม้ในสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากแต่พวกเราทีมงานทุกคน ที่มีส่วนร่วมจัดตั้งโครงการ “31st Century Museum of Contemporary Spirit in BKK” มีความเชื่อมั่นว่ารอยยิ้มและ น้ำใจอันดีงามยังคงมีอยู่ภายในจิตใจของคนไทยและในมนุษย์ทุกคน นี้คือเป้าหมายที่พวกเราพยายามนำมันกลับมาให้ปรากฎเป็นรูปธรรมอีกครั้งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดความร่วมมือจากทุกท่านที่จะมาร่วมแบ่งปันประสพการณ์แห่งความประทับใจเกี่ยวกับเรื่องราวที่แสดงออกถึงพลังงานบวกที่ปรากฎออกมาในรูปแบบของความรักความเมตตาทำให้เราและผู้ที่ได้รับรู้เกิดรอยยิ้มได้อีกครั้ง
รอยยิ้มและแรงบันดาลใจ
มีเรื่องราวดีๆ มากมายที่เกิดขึ้นในกรุงเทพทั้งเป็นข่าวและไม่มีใครรับรู้เลยนอกจากเขาคนนั้นที่ประสบเหตุการณ์ เองเช่น เรื่องแท๊กซี่ใจดีที่ขับรถ มท.9569 ชื่อนายณรงค์สายรัตน์เขาเก็บสะสมเงินทอนที่รับทิบจากผู้โดยสารแล้วนำไปซื้อ ของใช้ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันเช่น ขนมขบเคี้ยว มาม่าถุงยางอนามัย ปากกา สากกระเบือและครกเครื่องครัว ต่างๆ ฯลฯ เหมือนเป็นร้าน โชห่วยมาไว้ในรถแท๊กซี่ สิ่งของเหล่ามีไว้แจกฟรีให้กับผู้โดยสารที่ต้องการมันเพื่เป็นการตอบแทน บุญคุณที่เขาได้รับจากผู้โดยสารหรือเรื่องของคุณปฐมาหรุ่นรักวิทย์ เริ่มก่อตั้ง CASE (Community Architects for Shelter and Environment) เมื่อ 2540 เพื่อทำงานเกี่ยวกับชุมชนแออัดและคนยากจนอย่างแท้จริง โครงการสลัมย่าน ตลาดเก่ามีนบุรีอยู่ใกล้กับเบริเวณบ้านเธอเมื่อเจ็ดปีก่อนเธอได้เริ่มกิจกรรมกับเด็กๆ และชาวบ้านในละแวกนั้นโดยมีความ เชื่อพื้นฐานว่าเราทุกคนแม้ต่างอาชีพต่างฐานะแต่มีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันการทำงานของเธอเริ่มต้นด้วย ความเชื่อที่ว่่างานจะสำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือร่วมใจกันของทุกคนในชุมชนโดยไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการ ทำงานเธอมีความเชื่อที่ว่าเงินศูนย์บาทก็สามารถทำงานให้สำเร็จได้ และนั่นก็คือที่มาของชื่อที่เรียกเธอว่า “สถาปนิกสลัม” เป็นอีกเรื่องที่ผมประทับใจมากคือชุมชนแออัดที่ตลาดเก่ามีนบุรีเธอเล่าว่าครั้งแรกที่เข้าไปสำรวจพื้นที่พวกเธอจะเป็นคน แปลกแยกและไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเพราะพื้นที่ที่นี้เป็นพื้นที่บุกรุกของทางราชการและมีข้อพิพาทกับทางรัฐ เป็นเวลาช้านานจึงไม่ได้รับงบหรือทุนจากทางราชการเลยในอดีตเธอจึงเริ่มด้วยการทำงานกับเด็กๆที่วิ่งตามทีมงานที่สำรวจ ทีมสำรวจตั้งใจจะทำสนามเด็กเล่นให้เด็กแต่เมื่อถามเด็กๆ ว่าอยากได้อะไรในพื้นที่นี้เด็กส่วนมากกลับตอบว่าอยากได้สระ ว่ายน้ำซึ่งทำให้ทุกคนแปลกใจและเป็นไปได้ยากเพราะไม่มีงบประมาณเลย แต่เมื่อทำความเข้าใจกับเด็กๆ กลับพบว่าสระว่าย น้ำในความคิดของผู้ใหญ่ (ทีมงาน) กับเด็กๆ มีความต่างกัน คุยกันไปเรื่อยๆ แล้วพบว่าขนาดสระว่ายน้ำที่เด็กต้องการ คือขนาด 3 x 5 เมตร เป็นบ่อน้ำย่อมๆ เองหลังจากนั้นเขาจึงเริ่มสร้างสระว่ายน้ำด้วยแรงงานจากเด็กๆ ผู้ปกครองอาสา สมัครทั้งนักศึกษาสถาปัตย์ไทยและต่างประเทศคุณปฐมาบอกว่าโชคดีมากที่ทางเข้าหมู่บ้านเป็นสะพานเล็กๆ ข้ามคลอง รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ทุกอย่างจึงอาศัยคนขนข้ามมาสิ่งที่ผมและคนส่วนใหญ่คงคิดว่าการที่รถยนต์ไม่สามารถเข้ามา ได้เป็นปัญหาหรือเป็นอุปสรรคแต่ในทัศนคติของคุณปฐมากลับมองว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการทำกิจกรรมครั้งนี้เพราะ ทำให้เกิดความสามัคคีช่วยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
จากสนามเด็กเล่นสู่สระว่ายน้ำกลายมาเป็นสนามฟุตบอลซึ่งเด็กผู้ชายจะชื่นชอบแต่เด็กผู้หญิงไม่อยากเล่นฟุตบอล แต่ต้องการห้องสมุดสำหรับทำการบ้านตอนเย็นและเป็นที่อ่านหนังสือจึงเกิดเป็นห้องสมุดชุมชนขึ้นและหลังจากนั้นก็มีโรง เก็บเครื่องมือชุมชน ฯลฯ ทุกๆ ปีช่วงเวลาปิดเทอมสามเดือนเธอและนักศึกษาของเธอรวมทั้งเด็กๆ และชาวบ้านในชุมชน จะกลับมารวมตัวกันซ่อมแซมสร้างหรือพัฒนาบางอย่างที่ชุมชนต้องการจากจุดนี้จึงทำให้ชาวบ้านเริ่มรวมตัวและสร้าง สาธารณะประโยชน์ด้วยตัวพวกเขาเอง โดยที่ไม่ต้องรอช่วงปิดเทอม เช่นการสร้างสะพานใหม่ ยกระดับถนนให้สูงขึ้นช่วง น้ำท่วมด้วยการเทพื้นซีเมนต์ เป็นต้นหรืออีกเรื่องราวที่ผมประทับใจเมื่อได้รับฟังจาก คุณอัจฉราภรณ์ กังแฮเขาเล่าถึง เหตุการณ์หนึ่งว่าได้มีโอกาศพบเจอคนไร้บ้านคนหนึ่งไม่ใส่เสื้อและมีสภาพผอมโซเหมือนอดอาหารมาหลายวัน ขณะที่เดิน ผ่าน เธอรู้สงสารแล้วได้ยิบยื่นถุงขนมปังที่มีอยู่สองก้อนให้แก่ชายผู้นั้น เขารับไว้หนึ่งก้อนแล้วก็ส่งขนมปังอีกก้อนคืนแล้ว พูดว่า ขอบคุณครับ แค่ก้อนเดียวก็พอมันดูเหมือนไม่มีอะไรที่สำคัญแต่เหตุการณ์นี้กลับมีผลกระทบรุนแรงกับความรู้สึก นึกคิดภายในใจของเธอต่อทัศนคติในการตระหนักถึงคุณค่าในเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างความพอเพียงและการรู้จัก ประมาณตน อีกเรื่องราวที่มีคุณค่าจาก คุณจักรกฤษณ์ เสืออบ ที่ได้แบ่งปันเรื่องของคุณยายคุณตาที่ขายข้าวแกงใน ราคาถูกมากจานละบาท ซึ่งราคาปรติทั่วไปอยู่ที่ราคา 30-40 บาท และให้ในปริมาณที่มากด้วยเพื่อให้คนในละแวกนั้นที่มี รายได้น้อยและเป็นคนหาเช้ากินค่ำได้กินอิ่ม เพียงด้วยเหตุผลที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังหากำไรมากมายด้วยวิธี ความคิดแบบบุญนิยมมากกว่าทุนนิยม (การทำกำไรสูงสุดเพื่อตนเอง) จากตัวอย่างทั้งสี่เรื่องที่นำมาแบ่งปันน่าจะเป็น แนวทางบางอย่างทำให้เราได้ใส่ใจในความสัมพันธ์มากขึ้นจากการสังเกตุถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวในชีวิตประจำ วันเราอาจได้พบเจอเรื่องราวดีๆ แต่อาจคิดว่ามันไม่สำคัญต่อผู้อื่นเลยมองข้ามไปแต่สัจจะของธรรมชาติเป็นพลังงานที่ บริสุทธ์ของความรักความเมตตาจะส่งผลต่อทัศนคติที่ดีงามต่อตัวเรา มันไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ว่าเรื่องราวของใคร อันไหนสำคัญและดีกว่าหรือดีน้อยกว่ากัน เพราะมันมีความหมาย และเป็นคุณค่าเฉพาะตนที่เป็นเอกลักษณ์แห่งความ สัมพันธ์ระหว่างเวลาและพื้นที่ของแต่ละบุคคล นั้นหมายความว่าเมื่อเรามีรอยยิ้มสังคมก็จะมีรอยยิ้มเพราะเราคือสังคม
ปล.แนวความคิดบางส่วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือกระจกเงาแห่งความสัมพันธ์ จ.กฤษณมูรต
อังกฤษ อัจฉริยโสภณ ภัณฑารักษ์
เดือนตุลาคม 2560 ผมได้รับการติดต่อจาก อาจารย์ธนาทิพย์ ทิพย์วารี (Prof.Thanatip Thipwaree) ซึ่ง เป็นอาจารย์จาก วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (Poh-Chang Academy of Arts, Rajamangala University of Technology Rattanakosin) ให้ช่วยจัดนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่วิทยาลัยเพาะช่างในช่วงปลายปี 2561
ผมแนะนำให้จัดแสดงผลงานเดี่ยวของ อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ เพราะผมเห็นว่าเป็นการจัดงานในสถาบัน การศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอย่างวิทยาลัยเพาะช่าง ที่ขึ้นชื่อเรื่องการฝึกฝนทักษะ น่าจะเป็นประโยชน์ที่ได้เรียนรู้วิธีคิดและ วิธีการทำงานของศิลปินร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงอย่าง อาจารย์คามิน แต่หลังจากผมปรึกษากับอาจารย์คามิน อาจารย์บอกว่าไม่อยากจัดแสดงผลงานของตนเองแบบการแสดงเดี่ยว แต่อยากจัดห้องเรียน อยากให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ด้วยในตลอดระยะเวลา 1 ปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของโครงการ “31st Century Museum of Contemporary Spirit in Bangkok (at Poh Chang Academy of Arts)” ซึ่งอาจารย์พัฒนาแนวความคิดนี้ อยู่อย่างต่อเนื่อง
‘31st Century Museum …’ เป็นนิทรรศการที่ประกอบไปด้วยห้องเรียน การทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ และ การเสวนาหลายครั้ง เป็นการออกแบบระบบอาสาสมัครที่อนุญาติให้ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกคนเป็นศิลปินนำเสนอเรื่องราวของตนเองเป็นเจ้าของเรื่องราว และเจ้าของผลงาน โดยวิทยาลัยเพาะช่างทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพด้านสถานที่ ผมและอาจารย์คามินทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการอาสาสมัครทุกคนจะต้องเป็นศิลปิน เป็นคิวเรเตอร์ ติดตั้งผลงาน และเป็นผู้จัดงานด้วยตนเอง ทุกความคิดถูกนำเสนอในที่ประชุมเราพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนวิธีการและการจัดการไม่มีการคัดออกเราเชื่อว่าทุกเรื่องราวนั้นมีคุณค่าในตัวของมันเอง
หลังจากการทัศนศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ ผมได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับศิลปินที่เข้าร่วมโครงการเราแลกเปลี่ยนเรื่องเล่ามากมาย ซึ่งโดยมากเป็นประสบการณ์ตรงของศิลปินจากการเข้าร่วมกิจกรรมความคิดของผมที่มองเรื่องราวต่างๆ อย่างผิวเผินก็เปลี่ยนไปมากถ้าเราค่อยๆ พิจารณาเรื่องราวจากประสบการณ์ของศิลปินเราจะพบว่ามีความงามเกิดขึ้นไม่ว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะเกี่ยวกับเราหรือไม่ก็ตาม ในท้ายที่สุดเราสัมผัสมันได้เหมือนกับที่เราสัมผัสความเป็นมนุษย์ ความรัก ความเมตตาที่มีต่อกัน ผมคิดว่าความรู้สึกเห็นอกเห็นใจซึ่งเกิดขึ้นไม่ง่ายนักในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างกรุงเทพฯ ศิลปินที่ร่วมโครงการนำพาเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความนึกคิดและอารมณ์ความรู้สึกรูปแบบของงานเป็นเพียงผลลัพธ์จากการเสวนาเรื่องเล่าได้เกิดขึ้นแล้วโดยเฉพาะกับศิลปินที่เข้าร่วมกิจกรรมเรามีประสบการณ์ร่วมกันที่ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่ในตัวของเราเอง
ห้องแสดงงานศิลปะของวิทยาลัยเพาะช่าง อาจจะเต็มไปด้วยวัตถุสิ่งของที่สื่อสารถึงสิ่งต่างๆ แต่ห้องแสดงงาน ที่แท้จริง เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เกิดขึ้นใน 31st Century Museum พิพิธภัณฑ์ที่ไม่ได้มีกายภาพอยู่จริง แต่คือจิตใจของเรา ทุกคน
ธนาทิพย์ ทิพย์วารี ผู้รับผิดชอบโครงการ
เมื่อช่วงเดือนกรกฏาคม 2560 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสติดต่อปรึกษากับ Artist, Curator และ Galleristผู้มากความสามารถ อย่างคุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ โดยแจ้งความประสงค์ที่ตั้งใจจะจัดแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ศิลปะของศิลปินไทยที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ในระดับโลก เพื่อบูรณาการการศึกษาสร้างสรรค์ศิลปกรรมร่วมสมัยในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาศิลปะทุกสาขาวิชาในพื้นที่ของวิทยาลัยเพาะช่างมทร.รัตนโกสินทร์ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจ และได้รับเกียรติตอบรับจากศิลปินคามิน เลิศชัยประเสริฐ ผู้นำเสนอแนวทางการศึกษาเรียนรู้การสร้างสรรค์ศิลปกรรมอันสามารถส่งเสริมและพัฒนาสัมพันธภาพเชิงบวกด้านสังคมศาสตร์ผ่านโครงการหนึ่งที่ท่านได้ริเริ่มไว้ครั้งแรกที่เมือง Kanazawa Japan ใน ปี 2008 ต่อมาได้ทำโครงการนี้ขึ้นที่เชียงใหม่ในปี 2009 และยังได้รับเชิญให้ไปทำโครงการลักษณะนี้จากหน่วยงานในต่างประเทศ คือที่ The School of the Art Institute of Chicago USA ในปี2011, และที่ Niigita Japan ในปี 2012 นั่นก็คือโครงการ “31st Century Museum of Contemporary Spirit” ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบช่วยสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวน งานให้กับโครงการ “31st Century Museum of Contemporary Spirit in Bangkok (at Poh Chang Academy of Arts)” โดยมี การจัดบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจแก่นแนวความคิดที่เป็นศิลปะล่วงสมัยแบบ 31st การปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนำ เสนอมุมมองทัศนคติส่วนตนต่อเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์อันมีคุณค่าพลังงานความดีซึ่งมีอยู่จริงในสังคม แล้วนำมาสื่อสาร ผ่านผลงานสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินทุกท่านผู้เข้าร่วมโครงการนี้มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น รวมถึงการร่วมกันจัดการดำเนิน งานขั้นตอนต่างๆ ในโครงการตลอดช่วงระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาสู่การจัดแสดงผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ ความ เป็นมาทั้งหมดนี้คือปรากฏการณ์ของ “โครงการสัมมนาปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์ 31st Century Museum in Bangkok เพื่อ พัฒนาชุมชนและสังคมแห่งการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมในศตววรษที่ 21 สู่อนาคต”
การเริ่มต้นเดินทางไปทัศนศึกษากันที่เชียงใหม่เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2560 เพื่อเรียนรู้โครงการ 31st Century Museum of Contemporary Spirit โดยได้รับความรู้ความเข้าใจถึงแก่นแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับการเล็งเห็นและรวบรวม พลังงานทางจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ เพื่อเป็นพลังงานสำหรับผู้อื่นได้ลองสำรวจตนเอง ผ่านเหตุการณ์ผ่านเรื่องราวต่างๆ และค้นหาพลังในตนเองที่ขับเคลื่อนจิตวิญญาณให้เรามุ่งเน้นต่อสิ่งที่ดีงามเชิงคุณค่ามากกว่าความสำคัญเชิงมูลค่า โดยที่ทุก คนสามารถค้นพบความพิเศษของพลังงานที่ดีต่างๆ และแสดงความพิเศษนั้นด้วยสื่อสร้างสรรค์ศิลปะให้กับสังคมได้ ดัง ตัวอย่างของการเรียนรู้จากสถานที่ต่างๆ ที่ อ.คามิน พาไปสัมผัสเยี่ยมชม เช่น ชมรมมังสวิรัติฯ ที่ค้าขายอย่างเอื้ออาทรต่อ เพื่อนมนุษย์โดยกินข้าวหนึ่งจานกับหนึ่งอย่าง จ่าย 0 บาท, มูลนิธิที่นาที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มีแต่เจ้าของที่เป็นธรรมชาติผู้ให้ โอกาสมนุษย์ได้เรียนรู้และพัฒนาภูมิปัญญา, 31st Century Museum Site เชียงใหม่ พื้นที่ในการสะสมรวบรวมประสบการณ์ และเรื่องราวทางคุณค่าความดี ความงามและความจริงของสังคมมนุษย์ในรูปแบบของสื่อศิลปะ, พิพิธภัณฑ์แมลงโลกและสิ่ง มหัศจรรย์ธรรมชาติ งานวิจัยด้วยความรักและความบันดาลใจจากก้อนหินธรรมดาเพียงก้อนเดียวที่พกติดตัวทั้งชีวิต นำ มาซึ่งความเข้าใจสมดุลของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ, Johny gallery ศิลปินผู้ผลิตกำลังใจและความสุขต้อนรับหมู่มิตรสหายและ เป็นผู้มีอิสระจากระบบทางมูลค่าความกดดันใดๆ ท่านผู้พันฯ นายทหารผู้บริจาคทานแก่ผู้มีศีลเสมอกันในร้านอาหารเจ ด้วย กล้วยน้ำว้าจากจิตอันประณีตมายาวนานกว่า 10 ปี และพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย Maiiam พื้นที่ที่ขยายความประจักษ์แจ้ง ทางคุณค่าความงามของมนุษย์ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยมาตราฐานสากล
เรื่องราวที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นจริงเหล่านี้ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนที่มีโอกาสไปศึกษาเรียนรู้จากพื้นที่นั้น
ได้สัมผัสและเข้าใจในการค้นพบคุณค่าความดีงามผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่สร้างพลังงานบวกให้กับจิตใจและเช่น เดียวกันบนพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ที่เราทุกคนสามารถค้นพบพลังแห่งจิตวิญญาณอันดีงามบริสุทธิ์ที่ดำรงอยู่ในทุกหลืบ มุมอันซับซ้อน ในทุกความมืดมิดมีความงดงามทางจิตวิญญาณปรากฏหรือแอบแฝงอยู่เสมอ หลายสิ่งที่เราได้พบเจอประจำ อาจเป็นสิ่งที่เรามองข้ามผ่านพลังทางคุณค่าบางอย่างไป อาจเพียงเพราะว่าเรายังไม่เคยมองสิ่งนั้นด้วยจิตใจที่ละเอียดอ่อน แง่มุมในชีวิตคนธรรมดาบางคนที่เป็นสุขกับสิ่งด้อยมูลค่า แต่อาจสามารถช่วยให้เราค้นพบพลังงานอันส่งผลต่อแรงบันดาล ใจในการสร้างสรรค์ชีวิตบนโลกใบนี้ต่อไปได้อย่างผาสุข วันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกโชคดีมากที่ได้เรียนรู้เชิงประจักษ์ผ่านการดำเนินทุก ขั้นทุกตอนทุกกระบวนงานของโครงการฯ และทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้นว่า คุณค่าความดี ความจริง ความงามสามารถ สัมผัสรับรู้และสร้างแรงบันดาลใจได้ง่ายดายจากทุกชั่วขณะในจิตใจผ่านสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หากเรายอมเปิดใจและใส่ใจใน รายละเอียดของบริบทต่างๆ ให้มากขึ้น แม้หนทางในการแบ่งปันพลังทางคุณค่าความดีความจริงและความงามอย่างเป็นรูป ธรรม ให้เป็นที่สัมผัสรับรู้ได้อย่างแพร่หลายทั่วถึงกันในสังคมนั้น ไม่มีหนทางใดที่เรียกว่าเรียบง่ายเลย ตลอดทางของการขับ เคลื่อนโครงการฯ ต้องเผชิญปัญหาความติดขัดหรือข้อจำกัดในด้านต่างๆ มากมาย หากมิได้หัวใจอันบริสุทธิ์ของผู้เข้าร่วม โครงการทุกท่านที่ยินดีใช้พลังใจร่วมฝ่าฟันนานาปัญหากันมายาวนานตลอดเกือบปี ย่อมเป็นไปได้ยากยิ่งที่โครงการจะพัฒนา มาสู่ปลายทางการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะล่วงสมัยครั้งนี้ “31st Century Museum Exbihition in Bangkok (Land of Smile)” ข้าพเจ้าขอกล่าวขอบคุณและนับถือหัวใจของผู้ร่วมโครงการทุกท่านอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ ที่คอยร่วมแรงร่วมใเคียงข้าง การทำงานในโครงการนี้ร่วมกันมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงช่วงสมบูรณ์ท้ายสุดนี้ของโครงการ
read more….
ปัญญา เพ็ชรชู
เช้าวันที่ 17 ผมได้มีโอกาสไปบรรยายที่วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง หัวข้อ”ศิลปะล่วงสมัย”เกี่ยวกับโครงการ 31st Century Musuem in Bangkok ขณะก่อนที่จะบรรยาย ผมได้เดินไปเข้าห้องน้ำ เดินผ่านป้ายโปสเตอร์ขนาดใหญ่ มีรูปภาพเหรียญกษาปณ์ใบหน้าบุคคล แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร และภาพเหรียญด้านหลังมีคำบรรยายว่า “ผมไม่เป็นศิลปิน ถ้าผมเป็นศิลปิน แล้วใครจะเป็นครู ” ผมรู้สึกสะดุดตาและติดใจมากกับความหมายของข้อความนี้ ทำให้หยุดมองและสงสัยว่าผู้พูดนี้คือใคร เมื่อผมอ่านรายละเอียด ก็รู้ว่าเป็นอาจารย์ ปัญญา เพ็ชรชู ส่วนตัวแล้วผมไม่เคยรู้จักท่านมาก่อนและไม่ทราบว่าท่านเป็นคนสำคัญอย่างไร ทำไมจึงมีคนทำเหรียญที่ระลึกรูปเหมือนท่าน ผมจึงถามนักศึกษาที่อยู่ใกล้ผม เขาตอบว่า ท่านเป็นครูสอนที่เพาะช่าง และเป็นครูที่ดีมากใส่ใจในการเรียนการสอน ทุกคนรักและเคารพท่าน ผมจึงถามว่าท่านเป็นคนดีอย่างไร เขาตอบว่าท่านเป็นคนมีเมตตาสูงชอบช่วยเหลือนักศึกษาที่ยากจน ถ่้าใครไม่มีข้าวกิน แกก็จะเลี้ยงข้าวทุกคน โดยการไปบอกแม่ค้าที่ร้านอาหารของโรงเรียนไว้ว่าถ้านักศึกษาคนไหนไม่มีเงินก็ให้กินฟรีไปก่อน แล้วท่านจะเป็นคนจ่ายให้ภายหลัง ท่านอาจารย์ทำอย่างนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาเคยยากจนมาก่อน ผมเลยถามนักศึกษาคนนี้ต่อว่าเป็นเรื่องจริงหรือที่มีคนแบบนี้อยู่ เขาก็ตอบว่าผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้กินข้าวฟรียามที่ไม่มีเงิน ขณะที่ผมฟังเรื่องราวอยู่นั้น ผมรู้สึกปิติจนน้ำตาไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
ผมรู้แล้วว่าทำไม โชคชะตาจึงนำพาให้ผมมาทำโครงการ 31st Century Museum ที่นี่ ผมรู้สึกได้ทันทีว่า ท่านอาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู เป็นบุคคลต้นแบบ ของแนวความคิด 31st Century Museum of Contemporary Spirit “ร่างกายของเราคือพิพิธภัณฑ์ จิตวิญญาณของเราคืองานศิลปะ” ผมเริ่มเข้าใจในความหมายที่อยู่เบ้ืองหลังของคำว่า “ผมไม่เป็นศิลปิน ถ้าผมเป็นศิลปิน แล้วใครจะเป็นครู ” ประโยคนี้ มันฉายแสงให้ผมเห็นในเรื่องของความรักความเมตตา ที่บริสุทธิ์ ปราศจากประโยชน์ส่วนตน ผมคิดว่าการที่ท่านเป็นครูที่ดี มันก็คือการเป็นศิลปินที่ดีเช่นกันไม่แตกต่างกันเลย
เพราะการที่เราจะเป็นศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์ที่ดีในทุกสาขาอาชีพนั้น เราต้องเป็นตัวของเราเองให้ดีที่สุดรับผิดชอบในหน้าที่และเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตนและผู้อื่น ไม่ว่าเราเป็นใครและทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับการที่เราประสบความสำเร็จในการเก็บรักษาคุณค่าของความเป็นมนุษย์ในตน นั่นก็คือความรักความเมตตา กรุณาต่อผู้อื่น เพราะสิ่งนี้คือธรรมชาติพื้นฐานเป็นจุดกำเนิดความคิดสร้างสรรค์ของพลังงานต่างๆ เป็นจุดเชื่อมต่อฟ้าดินและมนุษย์ให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนสังคม
ผมหวังว่า เรื่องราวต่างๆและผลงานทั้งหมดของพวกเราทุกคนที่ได้นำมาแบ่งปันในนิทรรศการครั้งนี้ จะเป็นจุดร่วมของพลังงานในการเปลี่ยนแปลงสังคม ให้ดำรงคงความตระหนักรู้ถึงธรรมชาติพื้นฐานของเราไว้ นั้นก็คือความรักความเมตตาที่มีอยู่แล้วภายในเราทุกคน ถึงแม้บ่อยครั้งที่พวกเราจะหลงลืมมันไป แต่ผมเชื่อว่าด้วยการทบทวนการสืบค้นตรวจสอบเข้าไปภายในตนเองโดยปราศจากอคติไม่คาดหวังผลและไม่ตัดสินเพียงแต่เฝ้าดูแล้วนำเสนอด้วยความจริงใจที่เป็นกลาง ถึงเหตุการณ์ที่เคยได้รับแรงบันดาลใจหรือความมหัศจรรย์ใจ(miracal moment)ที่เกิดจากพลังงานทั้งบวกและลบไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จากประสบการณ์ตรงเช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่ผมได้รู้จักกับท่านอาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู จากเรื่องราวเล็กๆน้อยๆของพวกเราแต่ละคน สามารถเป็นการกระตุ้นเตือนความรักความเมตตาภายในให้ตื่นขึ้น ทำให้เราตื่นรู้ถึงอุปนิสัยแห่งความเคยชินจากการกระทำต่างๆของเรา ที่มักจะทำโดยมีผลประโยชน์แห่งตนเป็นศูนย์กลางเสมอ การสร้างประสบการณ์ในการตื่นรู้ให้ขยายใหญ่ขึ้นส่งต่อผู้อื่น จากปัจเจกวิถีชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความรักความเมตตาเป็นรากฐาน
คามิน เลิศชัยประเสริฐ
17 กรกฎาคม 2561
“ขอบคุณ”
กิติคุณเล่าว่าเขารู้สึกประทับใจในพยาบาลท่านหนึ่งที่ชื่อ คุณอุษณีย์ จรเขต เธอทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเวลา 36 ปีเธอเอาใจใส๋ผู้ป่วยอย่างดีและจะคอยช่วยสานความฝันความปราถนา ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิต เช่นมีผู้ป่วยชายท่านหนึ่งอยากแต่งงานกับแฟนสาวก่อนตายเธอก็ติดต่อจัดพาไปจดทะเบียนสมรส และยังมีคุณป้าที่อยากจะพูดคุยครั้งสุดท้ายกับลูกสาวที่อยู่โรงเรียนประจำต่างจังหวัดเธอการติดต่อให้ได้พูดคุยกัน หรือชาวต่างชาติที่มาประสบอุบัติเหตุใก้ลตายอยากจะไปนั่งที่ริมทะเลและว่ายนำ้เธอก็พาไป อีกกรณีผู้ป่วยเด็กเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายชอบดูการ์ตูน เธอจึงไปติดต่อขอความร่วมมือกับนักศึกษาคณะการแสดงมาแสดงละครเป็นตัวการ์ตูนเพื่อนสร้างความสุขสนุกสนานให้กับผู้ป่วยเด็กก่อนที่เขาจะจากโลกนี้ไป
ยังมีเรื่องราวต่างๆ อีกมากมายที่เธอได้สร้างฝันให้เป็นจริงแก่ผู้ที่ป่วยขั้นสุดท้าย สิ่งที่ทำแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่มีความหมายสำหรับเราแต่มันกลับมีความหมายมากต่อผู้ที่ไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง การกระทำต่างๆนี้เป็นสิ่งที่เธอต้องการจะมอบให้กับผู้ป่วยโดยที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของทางโรงพยาบาลด้วยเหตุนี้เธอจึงต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยเงินส่วนตัวเท่าที่เธอสามารถทำได้หรือขอความช่วยเหลือและการร่วมมือกับผู้อื่น
จากความประทับใจเรื่องราวนี้เอง กิติคุณได้นำเสนอออกมาเป็นผลงาน VDO โดยได้ไปสัมภาษณ์นางพยาบาลท่านนี้แต่ตัดเสียงออก และใส่คำบรรยายใต้ภาพด้วยข้อความในจดหมายที่เขียนโดยผู้ป่วยที่ได้เขียน”ขอบคุณ”คุณพยาบาลไว้ก่อนตาย ศิลปินต้องการจะเชื่อมต่อบุคคลทั้งสองที่อยู่ต่างมิติของกาลเวลาให้มาอยู่รวมกันบนพื้นที่เดียวกันด้วยความรักและความเมตตา
๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
“The hub”
มูลนิธิ The hub เป็นสถานที่ช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน ไร้บ้านรวมถึงผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางสังคม เด็กเหล่านี้มีพฤติกรรมที่หยาบคลายและมีการแสดงออกทางอารมณ์รุนแรง เนื่องจากปัญหาในชีวิตที่มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาทางครอบครัวและส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆตามมาเช่นยาเสพติด ลักทรัพย์ ค้าบริการและปัญหาด้านความรุนแรง
นายอิทธิพลเป็นเด็กชายขอบที่เคยมีประสบการณ์ในอดีตในวัยเด็กคล้ายคลึงกันจึงมีความรู้สึกเข้าใจและเห็นใจพวกเขา เขาเคยเป็นอาสาสมัครที่มูลนิธินี้เพื่อให้ความรู้เรื่องศิลปะและความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่เด็กๆด้วย ถึงแม้เขาจะมีเจตนาที่ดีในการแบ่งปั้นความรู้แต่เขาได้พบว่ามีหลายครั้งมากที่เขาแทบจะทนไม่ได้กับพฤติกรรมและคำพูดที่หยาบคายและก้าวร้าวของเด็ก แต่เมื่อมีสติกลับมาคิดว่าพี่ๆที่เป็นเจ้าหน้าที่ต้องมาทำงานช่วยเหลือเด็กพวกนี้ทุกๆวันเจอแต่ปัญหาต่างๆมากมาย ทำให้เขารู้สึกประทับใจในพี่ๆเจ้าหน้าที่ทุกคนของมูนิธินี้เขาจึงนำความประทับใจนี้มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำผลงานชิ้นนี้
เขาได้ไปสัมภาษณ์พี่เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งถึงความรู้สึกว่าทำไมถึงมาทำงานนี้และปัญหาของเด็กเหล่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและพวกเราจะช่วยกันแก้ไขได้อย่างไร เจ้าหน้าตอบประมาณว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากพวกเราเอง เด็กผู้หญิงที่มาอยู่ที่นี้เกือบทุกคนถูกทำลายและข่มขื่นจากคนในครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของปัญหาต่างๆ และเมื่อพวกเขามีปัญหาเกิดขึ้นก็ไม่มีที่พึงพิงจึงเร่ร่อนไร้บ้านและเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมา อิทธิพลนำเอาบทความสัมภาษณ์จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ด้วยสีเทาบนพื้นสีดำและเลือกเฉพาะตัวพยัญชนะของคำที่มาประกอบกันแล้วได้ใจความที่มีความหมายหยาบคลายหรือคำด่าเช่น ค_ว_ย เ_หี ้_ย แล้วนำมาจัดพิมพ์เป็นสีขาวซ่อนอยู่ในรูปประโยคของคำพูดของพี่เจ้าหน้าที่
สำหรับข้าพเจ้าผลงานชิ้นนี้เป็นภาพแทนความหมายของความรักความเมตตาความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคม และทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าภายในและความเปราะบางของความเป็นมนุษย์ โดยการมองข้ามรูปลักษณะภายนอกซึ่งบางครั้งอาจดูแปลกแยกขัดแย้งแต่ไม่แตกต่างโดยธรรมชาติ
๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
“เสื้อช็อป”
ตรีเทพ มีอาชีพรับจ้างวาดรูปใส่”เสื้อช็อป”ให้กับเด็กอาชีวะศึกษาทั่วประเทศไทย รูปที่วาดจะเป็นภาพของพระพิษณุและตราสัญญาลักษณ์ของสถาบันต่างๆ เรื่องราวตามแต่ลูกค้าต้องการ ภาพส่วนใหญ่ที่วาดออกมาจะมีการแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงก้าวร้าว จนกระทั่งลูกค้าคนหนึ่งที่เขาสนิกสนมด้วยถูกยิงตายและถูกถอดเสื้อช็อปไปเพราะภาพที่เขียนเป็นรูปพระพิษณุเอาเท้าเยียบตราสัญญาลักษณ์ของอีกสถาบันที่เป็นคู่อริกัน จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เขารู้สึกผิดว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าคนนั้นต้องตาย เขาสำนึกผิดและตั้งใจว่าจะไม่เขียน”เสื้อช็อป”ตามความต้องการของลูกค้าอีกต่อไป
ส่วนผลงานที่เขาได้ร่วมแสดงใน 31 Century Museum of Contemporary Spirit in Bangkok ในครั้งนี้เขาได้วาดรูปพระพิษณุซึ่งสื่อความหมายถึงเทพเจ้าแห่งช่างใส่บนเสื้อคุมสีขาวของหมอและแวดล้อมไปด้วยดอกไม้สีสันสดใสดูสดชื่น เขาต้องการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจของเขาเองรวมทั้งผู้อื่นด้วย
ผลงานของเขาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างมากให้เรื่องที่มาของความประทับใจว่ามันไม่จำเป็นเสมอไปว่างานที่ดีจะต้องเกิดจากพลังงานด้านบวกเพียงอย่างเดียว เพราะแท้จริงแล้วในธรรมชาติไม่มีทั้งความดีหรือความเลว บวกหรือลบ สิ่งเหล่านี้มีอยู่แต่ภายในความคิดของมนุษย์เท่านั้น การตระหนักรู้ถึงความจริงและยอมรับมันอย่างที่มันเป็นอยู่จริงด้วยความบริสุทธิ์ใจปราศจากอคตินั้นคือจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง และสิ่งนี้มันได้แสดงออกมาผ่าน”เสื้อช็อป”สีขาวตัวนี้
๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
ขอขอบคุณ
ที่ปรึกษา
คามิน เลิศชัยประเสริฐ
อังกฤษ อัจฉริยโสภณ
ธนาทิพย์ ทิพย์วารี
อาสาสมัคร
จักรกฤษณ์ เสืออบ
อัจฉราภรณ์ กังแฮ
รัตนาภรณ์ จิลากาหงษ์
อติชาติ วัฒนาพิเชษฐ์พงศ์
ภาวิณี แก้วคลองน้อย
ธีรวัฒน์ พฤกษกิจกุลชัย
ณัฐพงษ์ พันผิว
วรวุฒิ ศรีจำปา
อมฤต รักดำ
อิทธิพล ศักดิ์เจริญชัยกุล
ชาญณรงค์ แดงปะคำ
เพิ่มลาภ ชื่นเกสร
ศรสุดา กังแฮ
ศิลปินผู้เข้าร่วมโครงการ
จิตต์สิงห์ สมบุญ
ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์
ธณฤษภ์ ทิพย์วารี
ขวัญรัตน์ จินดา
อานนท์ นงเยาว์
เกรียง เตชินอนันท์
ณเรศ จึง
อนุสรณ์ ท่อนทอง
อภิเศก นรินทร์ชัยรังสี
วรปรัชญ์ คะระนันท์
ณัฐพล ชัยวรวัฒน์
กิตติกร โสดากุล
สิราณรมย์ มณีรัตน์
ไกรวิทย์ โพธิกุล
พีรพล จันทร์เทพ
สราวุธ ใจเพียร
ธนนต์ จันทร์กลิ่น
มานพ โมมินทร์
สิทธิศักดิ์ ทองดีนอก
ศิริวรรณ ศรีสุข
ตรีเทพ ศิลาไกรลาศ
อานนท์ เลิศพูลผล
กีรติ เกตุคำ
อลิสา ผลาผล
ณฐกร คำกายปรง
นูรญาตี แคยิหวา
ขนิษฐา ราศีใส
วรรณศิริ บุญเย็น
ไทยง ศรีรัตนพันธ์
พศุตม์ สะอิ้งทอง
สุธาวี สมบูรณ์ผล
มนตรี วนาพิทักษ์กุล
พันธ์ทิพย์ ถนอมเชื้อ
ผกากรอง เขื่อนขันเจริญ
เอื้อเฟื้อสถานที่
อาคารพิพิธภัณฑ์เพาะช่างเฉลิมพระเกียรติ
วิทยาลัยเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์
เอื้อเฟื้อประชาสัมพันธ์และสิ่งพิมพ์
สุเทพ จ้อยศรีเกตุ
ผู้สนับสนุนโครงการ
ดร. ฐิติพงศ์ นวเลิศพร
นัมทอง แกลอรี่
แรงบันดาลใจจากสถานที่และบุคคล
คุณลุงพันเอกธงชัย แสงรัตน์
ร้านชมรมมังสวิรัติเชียงใหม่ (ศูนย์บาทก็ทานได้)
John Gallery
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม
มูลนิธิที่นา
พิพิธภัณฑ์แมลงโลกและสิ่งมหัศจรรย์ธรรมชาติ