พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ ๓๑ ที่กรุงเทพมหานครฯ(สยามเมืองยิ้ม)

พิพิธภัณฑ์ศตวรรษที่ ๓๑ ที่กรุงเทพมหานครฯ(สยามเมืองยิ้ม)

31 Century Museum in Bangkok (Land of smiles)

www.31century.org

 

จิตที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตาปราศจากความกลัวเป็นจุดกำเนิดของอิสรภาพและการสร้างสรรค์

 

การสร้างสรรค์สังคมแห่งความสุขคือการสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม จุดเริ่มต้นอยู่ที่การใส่ใจในความสัมพันธ์ภายในจิตใจของตนเองที่มีต่อเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นทุกขณะ ความรู้สึกประทับใจในเรื่องราวดีๆที่มีพลังงานบริสุทธ์(Ready-made culture) สัจจะที่อยู่เหนือพ้นจิตสำนึก เราสามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจเปลี่ยนแปลงให้เป็นประสพการณ์ตรงโดยผ่านกระบวน การเรียนรู้จักตนเองที่แท้จริงคือการทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่ภายในตนเองและนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ปรากฎออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อให้สังคมได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันแล้วกลับมามีรอยยิ้มอีกครั้ง เพราะเราคือสังคม

 

แนวความคิด

กรุงเทพมหานครฯเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจและทางวัตถุอย่างมากซึ่งไม่แตกต่างอะไรกับเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลกเช่น โตเกียว ปารีส นิวยอกร์ ฯลฯ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกทำให้ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุนชนเมือง สภาพแวดล้อมที่เคยประกอบไปด้วยธรรมชาติลดน้อยลงและการดำรงชีวิตที่พึ่งพิงผลผลิตจากธรรมชาติโดยตรงได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการพึ่งพิงจากเศษฐกิจและอุสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้มนุษย์ในสังคมปัจจุบันจึงมุ่งแต่แสวงหาความสุขสบายที่เกิดจากวัตถุโดยการสะสมเงินทองทรัพย์สมบัติและให้คุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าของความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจ จนเกิดเป็นค่านิยมใหม่ของสังคมสมัยใหม่ที่มักจะประเมิณคุณค่าหรือตัดสินปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับที่เป็นมูลค่าของการตอบแทนทางวัตถุมากกว่าการคำนึงถึงคุณค่าทางด้านจิตใจ,ด้านศีลธรรม,ด้านศิลปวัฒนธรรมรวมถึงระบบนิเวศทางธรรมชาติ

 

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมเราต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ไม่มีสิ่งใดสามารถแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์คือความหมายของการดำรงอยู่ ความขัดแย้งต่างๆของเราเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ในทุกระดับของการดำรงอยู่ เพราะการที่เราไม่เข้าใจในควาสัมพันธ์อย่างถ่องแท้ ฉนั้นการเริ่มต้นที่จะรู้จักตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งต่างๆ
การใส่ใจในความรู้สึกนึกคิดภายในแต่ละขณะที่มันเกิดขึ้นในความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในสังคมไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องราวเป็นข่าวใหญ่โตหรือเหตุการณ์เล็กๆที่ไม่มีใครรับรู้ก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติของเราต่อความสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง มันจึงมีความสำคัญอย่างมากในการที่เราจะเลือกรับรู้และทำความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริงความดีงามก่อนที่จะส่งต่อผู้อื่น

 

โครงการนี้เราตั้งใจจะรวบรวมเรื่องราวข่าวสารข้อมูลที่มีพลังงานบวก(Ready-made culture)ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯเพื่อนำมาเสนอต่อสังคมอีกครั้งโดยผ่านกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ
การวิเคราะห์แยกแยะสำรวจตรวจสอบเหตุปัจจัยร่วมกันโดยแนวทางวิธีการสื่อสารและการสร้างสรรค์ผลงานศิลปร่วมสมัยที่มีรูปแบบที่หลากหลายในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในโครงการได้เรียนรู้ประสพการณ์ในการทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างจุดกำเนินของความสัมพันธ์ ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นแรงบันดาลใจนำมาพัฒนาให้กลายมาเป็น
ประสพการณ์ตรงโดยผ่านขั้นตอนของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จนถึงขั้นตอนการนำเสนอออกสู่สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม

 

ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่า”สยามเมืองยิ้ม” นั้นมีนัยยะที่สำคัญและบ่งบอกให้เราเห็นและเข้าใจถึงพื้นฐานของคุณค่าที่มีอยู่ในวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยในอดีต ถึงแม้ในสังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากแต่พวกเราทีมงานทุกคนที่มีส่วนร่วมจัดตั้งโครงการ “31 Century Museum of Contemporary Spirit in BKK” มีความเชื่อมั่นว่ารอยยิ้มและน้ำใจอันดีงามยังคงมีอยู่ภายในจิตใจของคนไทยและในมนุษย์ทุกคน นี้คือเป้าหมายที่พวกเราพยายามนำมันกลับมาให้ปรากฎเป็นรูปธรรมอีกครั้ง สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดความร่วมมือจากทุกท่านที่จะมาร่วม
แบ่งปันประสพการณ์แห่งความประทับใจเกี่ยวกับเรื่องราวที่แสดงออกถึงพลังงานบวกที่ปรากฎออกมาในรูปแบบของความรักความเมตตาทำให้เราและผู้ที่ได้รับรู้เกิดรอยยิ้มได้อีกครั้ง

 

รอยยิ้มและแรงบันดาลใจ

มีเรื่องราวดีๆมากมายที่เกิดขึ้นในกรุงเทพทั้งเป็นข่าวและไม่มีใครรับรู้เลยนอกจากเขาคนนั้นที่ประสพเหตุการณ์เองเช่น เรื่องแท๊กซี่ใจดีที่ขับรถ มท.9569 ชื่อนายณรงค์ สายรัตน์ เขาเก็บสะสมเงินทอนที่รับทิบจากผู้โดยสารแล้วนำไปซื้อของใช้ต่างๆที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันเช่น ขนมขบเคี้ยว มาม่า ถุงยางอนามัย ปากกา สากกระเบือและครกเครื่องครัวต่างๆ ฯลฯ เหมือนเป็นร้าน
โชห่วยมาไว้ในรถแท๊กซี่ สิ่งของเหล่ามีไว้แจกฟรีให้กับผู้โดยสารที่ต้องการมัน เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณที่เขาได้รับจากผู้โดยสาร

 

หรือเรื่องของคุณปฐมา หรุ่นรักวิทย์ เริ่มก่อตั้ง CASE (Community Architects for Shelter and Environment) เมื่อ 2540เพื่อทำงานเกี่ยวกับชุมชนแออัดและคนยากจนอย่างแท้จริง โครงการสลัมย่านตลาดเก่ามีนบุรี อยู่ใกล้กับเบริเวณบ้านเธอ เมื่อเจ็ดปีก่อน เธอได้เริ่มกิจกรรมกับเด็กๆและชาวบ้านในละแวกนั้น โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า เราทุกคนแม้ต่างอาชีพ
ต่างฐานะ แต่มีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน การทำงานของเธอเริ่มต้นด้วยความเชื่อที่ว่่า งานจะสำเร็จ สามารถเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือร่วมใจกันของทุกคนในชุมชนโดยไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการทำงาน เธอมีความเชื่อที่ว่าเงินศูนย์บาทก็สามารถทำงานให้สำเร็จได้
และนั่นก็คือที่มาของชื่อที่เรียกเธอว่า “สถาปนิกสลัม”

 

เป็นอีกเรื่องที่ผมประทับใจมากคือ ชุมชนแออัดที่ตลาดเก่ามีนบุรี เธอเล่าว่าครั้งแรกที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ พวกเธอจะเป็นคนแปลกแยกและไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน เพราะพื้นที่ที่นี้เป็นพื้นที่บุกรุกของทางราชการ และมีข้อพิพาทกับทางรัฐเป็นเวลาช้านาน จึงไม่ได้รับงบหรือทุนจากทางราชการเลยในอดีต เธอจึงเริ่มด้วยการทำงานกับเด็กๆที่วิ่งตามทีมงานที่สำรวจ ทีมสำรวจตั้งใจจะทำสนามเด็กเล่นให้เด็ก แต่เมื่อถามเด็กๆว่าอยากได้อะไรในพื้นที่นี้ เด็กส่วนมากกลับตอบว่าอยากได้สระว่ายน้ำ ซึ่งทำให้ทุกคนแปลกใจและเป็นไปได้ยากเพราะไม่มีงบประมาณเลย แต่เมื่อทำความเข้าใจกับเด็กๆ กลับพบว่า สระว่ายน้ำในความคิดของผู้ใหญ่ (ทีมงาน)กับเด็กๆมีความต่างกัน คุยกันไปเรื่อยๆแล้วพบว่าขนาดสระว่ายน้ำที่เด็กต้องการคือขนาด 3 x 5 เมตร เป็นบ่อน้ำย่อมๆเอง หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มสร้างสระว่ายน้ำด้วยแรงงานจากเด็กๆ ผู้ปกครอง อาสาสมัครทั้งนักศึกษาสถาปัตย์ไทยและต่างประเทศ คุณปฐมาบอกว่า โชคดีมากที่ทางเข้าหมู่บ้านเป็นสะพานเล็กๆข้ามคลอง รถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ ทุกอย่างจึงอาศัยคนขนข้ามมา สิ่งที่ผมและคนส่วนใหญ่คงคิดว่าการที่รถยนต์ไม่สามารถเข้ามาได้เป็นปัญหาหรือเป็นอุปสรรค
แต่ในทัศนคติของคุณปฐมากลับมองว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการทำกิจกรรมครั้งนี้ เพราะทำให้เกิดความสามัคคีช่วยสร้างสำนึกในการมีส่วนของคนในชุมชน

 

จากสนามเด็กเล่นสู่สระว่ายน้ำ กลายมาเป็นสนามฟุตบอล ซึ่งเด็กผู้ชายจะชื่นชอบ แต่เด็กผู้หญิงไม่อยากเล่นฟุตบอล แต่ต้องการห้องสมุดสำหรับทำการบ้านตอนเย็นและเป็นที่อ่านหนังสือ
จึงเกิดเป็นห้องสมุดชุมชนขึ้น และหลังจากนั้นก็มีโรงเก็บเครื่องมือชุมชน ฯลฯ ทุกๆปีช่วงเวลาปิดเทอมสามเดือน เธอและนักศึกษาของเธอ รวมทั้งเด็กๆและชาวบ้านในชุมชนจะกลับมารวมตัวกันซ่อมแซม สร้าง หรือพัฒนาบางอย่างที่ชุมชนต้องการ จากจุดนี้ จึงทำให้ชาวบ้านเริ่มรวมตัวและสร้างสาธารณะประโยชน์ด้วยตัวพวกเขาเอง โดยที่ไม่ต้องรอช่วงปิดเทอม เช่นการสร้างสะพานใหม่ ยกระดับถนนให้สูงขึ้นช่วงน้ำท่วมด้วยการเทพื้นซีเมนต์ เป็นต้น

 

หรืออีกเรื่องราวที่ผมประทับใจเมื่อได้รับฟังจากคุณอัจฉราภรณ์ กังแฮ เขาเล่าถึงเหตุการณ์หนึ่งว่าได้มีโอกาศพบเจอคนไร้บ้านคนหนึ่งไม่ใส่เสื้อและมีสภาพผอมโซเหมือนอดอาหารมาหลายวัน ขณะที่เดินผ่านเธอรู้สงสารแล้วได้ยิบยื่นถุงขนมปังที่มีอยู่สองก้อนให้แก่ชายผู้นั้น เขารับไว้หนึ่งก้อนแล้วก็ส่งขนมปังอีกก้อนคืน แล้วพูดว่าขอบคุณครับแค่ก้อนเดียวก็พอ มันดูเหมือนไม่มีอะไรที่สำคัญแต่เหตุการณ์นี้กลับมีผลกระทบรุนแรงกับความรู้สึกนึกคิดภายในใจของเธอต่อทัศนคติในการตระหนักถึงคุณค่าในเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างความพอเพียงและการรู้จักประมาณตน

 

อีกเรื่องราวที่มีคุณค่าจากคุณจักรกฤษณ์ เสืออบ ที่ได้แบ่งปันเรื่องของคุณยายคุณตาที่ขายข้าวแกงในราคาถูกมากจานละ15บาทซึ่งราคาปรติทั่วไปอยู่ที่ราคา30-40 บาทและให้ในปริมาณที่มากด้วยเพื่อให้คนในละแวกนั้นที่มีรายได้น้อยและเป็นคนหาเช้ากินค่ำได้กินอิ่ม เพียงด้วยเหตุผลที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังหากำไรมากมายด้วยวิธีความคิดแบบบุญนิยมมากกว่าทุนนิยม(การทำกำไรสูงสุดเพื่อตนเอง)

 

จากตัวอย่างทั้งสี่เรื่องที่นำมาแบ่งปันน่าจะเป็นแนวทางบางอย่างทำให้เราได้ใส่ใจในความสัมพันธ์มากขึ้น จากการสังเกตุถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวในชีวิตประจำวัน เราอาจได้พบเจอเรื่องราวดีๆแต่อาจคิดว่ามันไม่สำคัญต่อผู้อื่นเลยมองข้ามไป แต่สัจจะของธรรมชาติเป็นพลังงานที่บริสุทธ์ของความรักความเมตตาจะส่งผลต่อทัศนคติที่ดีงามต่อตัวเรา มันไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ว่าเรื่องราวของใครอันไหนสำคัญและดีกว่าหรือดีน้อยกว่ากันเพราะมันมีความหมายและเป็นคุณค่าเฉพาะตนที่เป็นเอกลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและพื้นที่ของแต่ละบุคคล นั้นหมายความว่าเมื่อเรามีรอยยิ้มสังคมก็จะมีรอยยิ้มเพราะเราคือสังคม

 

ปล.แนวความคิดบางส่วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือกระจกเงาแห่งความสัมพันธ์ จ.กฤษณมูรติ

 

คามิน เลิศชัยประเสริฐ

๒๒ กันยายน ๒๕๖๐

 

ขั้นตอนและกรอบเวลา(ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม)

 

    1. การบรรยายเกี่ยวแนวความคิดและการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของคามิน เลิศชัยประเสริฐ (ใช้เวลาประมาณ2ชั่วโมง) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคาดหวังว่าควรจะต้องมีอย่างน้อยกว่า 200 คนและเปิดโอกาศให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมได้ไม่จำกัดจำนวนโดยมีนักศึกษาจากเพาะช่างทุกสาขาที่มีความสนใจเข้าร่วมเป็นแกนหลัก(เดือนมกราคม ๒๕๖๑)
    2. การบรรยายเกี่ยวกับละลายเอียดของการทำงานจัดนิทรรศการ31 Century Museum in BKK(Land of smile)เช่นแนะนำการเลือกเรื่องราวและการนำเสนอในรูปแบบหรือเทคนิคที่เหมาะสมฯลฯ(ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)ข้อที่1  และข้อที่ 2 อาจเป็นวันเดียวกันบรรยายต่อเนื่องหรือแบ่งเป็นสองเวลาช่วงเช้าและบ่าย (เดือนมกราคม ๒๕๖๑)
    3. ผู้ร่วมโครงการนำเสนอหัวข้อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งที่๑ (เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑)
    4. ถ้ามีงบประมาณมากพอก็จะมาการจัดทัศนศึกษามาเชียงใหม่เพื่อมาดูงานและเรียนรู้จาก พิพิธภัณฑ์แห่งศตวรรษที่ 31 www.31century.orgหรือแนะนำให้ไปปฎิบัติวิปัสสนาสายท่านโกเอ็นก้า (http://www.thaidhamma.net)ขึ้นอยู่กับการสมัครใจเพื่อเป็นข้อมูลในการทำความเข้าใจแนวคิดและประสพการณ์ในการรับรู้ถึงสภาวะที่เป็นกลางหรืออุเบกขาในการที่จะเห็นถึงความหมายของสิ่งต่างๆอย่างที่มันเป็นไม่ใช่อย่างที่เราต้องการจะให้มันเป็น(เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑)
    5. นำเสนอหัวข้อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งที่๒ เลือกสถานที่จากเรื่องราวที่ผู้เข้าร่วมโครงการนำเสนอที่คิดว่าน่าสนใจเป็นแบบอย่างเพื่อไปลงพื้นที่ในกรุงเทพฯด้วยกันจำนวนตามความเหมาะสมของเวลาและงบ(เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๖๑)
    6. ประชุมและออกแบบนิทรรศการ – สร้างสรรค์ผลงานของแต่ละคน กำหนดพื้นที่ติดตั้ง 5 ห้องแสดงงาน ซึ่งมีขนานใหญ่มากเพราะฉนั้นผู้ร่วมเข้ากิจกรรมควรจะต้องมีไม่น้อยกว่า 150 คนหรือผลงานประมาณ150 ชิ้น (เดือนมิถุนายน-กันยายนคม๒๕๖๑)
    7. จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์สูจิบัตรและแผนที่แผ่นพับเพื่อแสดงสถานที่ตั้งของเรื่องราวจริงที่เกิดขึ้นที่เป็นแรงบันดาลใจ ส่วนห้องแสดงงานที่มหาวิทยาลัยเพาะช่างเป็นสถานีเพื่อแสดงผลงานนักศึกษาคล้ายกับเป็นแบบจำลองห้องทดลองและสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและติดต่อสื่อสารกับผู้ชมทั่วไป (เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๖๑)
    8. เปิดนิทรรศการแสดงงาน ทุกขั้นตอนนักศึกษาจะต้องมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาโดยมีศิลปินและภัณฑารักษ์เป็นเพียงผู้แนะนำและสนับสนุนเพราะเป้าหมายที่สำคัญของโครงงานนี้คือการนำเสนอนิทรรศการแสดงงานศิลปะเชิงปฎิบัติการ (workshop)และศิลปะกระบวนสร้างสรรค์(Process art) โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าศิลปะคือกระบวนการเรียนรู้จักตนเอง สังคมและธรรมชาติ เพื่อตระหนักรู้ถึงคุณค่าของความจริงความดีและความงามที่มีอยู่ในเราทุกคนตั้งแต่เกิดเพียงแค่เราหลงลืมมันไปให้กลับคืนมาผ่านรอยยิ้มของเราอีกครั้งหนึ่ง (เดือนพฤจิกายน ๒๕๖๑-มกราคม ๒๕๖๒)

 

 

©31century.org | Web Site Represented